|
|
|
|
|
[1683] แสมสาร ( Cassia garrettiana) CAESALPINIACEAE แสมสาร(กลาง); กราบัด, กะบัด(ชาวบน-นครสีธรรมราช); ขี้เหล็กโคก, ขี้เหล็กแพะ(เหนือ); ขี้เหล็กป่า(เหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ); ขี้เหล็กสาร(นครราชสีมา, ปราจีนบุรี); ไงซาน(เขมร-สุรินทร์)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณแล้ง และป่าแดงตอนโปร่งๆทั่วประเทศและนิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามสองฟากทางหลวง |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อม ถึงขนาดกลาง สูงถึง ๑๓ เมตร ใบหนา สีเขียวสด ออกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีใบย่อย ๖-๙ คู่ รูปหอก หรือรูปไข่ค่อนข้างป้อม กว้าง ๒-๕ ซม. ยาว ๕-๘ ซม. ปลายเรียวแหลม เกลี้ยงไม่มีขน ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อ ยาว ๘-๒๐ ซม. ที่ปลายกิ่งมีขนสีน้ำตาลเหลืองหนาแน่น มีดอกเป็นจำนวนมาก ผลเป็นฝักแบนรูปบรรทัด กว้าง ๒-๔ ซม. ยาว ๑๕-๒๒ ซม. ผนังฝักค่อนข้างบาง เกลี้ยง ไม่มีขน พอแก่จะปริอ้าออก มีเมล็ดฝักละประมาณ ๒๐ เมล็ด ขนาดกว้าง ๕ มม. ยาว ๙ มม. สีน้ำตาล กระพี้สีขาวนวล แยกจากแก่นเห็นได้ชัด |
ลักษณะเนื้อไม้
แก่นสีน้ำตาลแก่เกือบดำ มีเส้นสีอ่อนกว่าสีพื้นสลับ ทำให้เห็นเป็นลาย แข็ง เหนียว และทนทานมาก |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๑.๑๖ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
|
การอาบน้ำยาไม้
|
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำด้ามเครื่องมือ ไม้ถือ ลูกประสัก เครื่องเรือน ทำครก สาก กระเดื่อง ลูกหีบ ฟันสีข้าว ลักษณะคล้ายไม้ขี้เหล็ก ควรใช้แทนกันได้ ประโยชน์ทางยา ใช้เป็นยาระบาย ถ่ายเสมหะ แก้กษัย ทำให้เส้นหย่อน ถ่ายโลหิตระดูสตรี โดยมากใช้รวมกับแก่นแสมทะเล และแก่นขี้เหล็ก
|
|
|