All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:ป่าสถานีวนเกษตรตราด LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[1634]
 
เฉียงพร้านางแอ
Carallia brachiata
LFG
 
 
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
เฉียงพร้านางแอ (Carallia brachiata Merr. ) T [1634]
RHIZOPHORACEAE
-
 
  เฉียงพร้านางแอ, ต่อใส้, สันพร้านางแอ(กลาง); กวางล่ามา(ชอง-ตราด); กูมุย(เขมร-สุรินทร์); แก็ก, วงคด, องคต(ลำปาง); ขิงพร้า, เขียงพร้า(ตราด, ประขวบคีรีขันธ์); เขียงพร้านางแอ(ลำปาง); คอแห้ง, สีฟัน(ใต้); เฉ LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: เฉียงพร้านางแอ(Carallia brachiata) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: เฉียงพร้านางแอ(Carallia brachiata) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[1634]
เฉียงพร้านางแอ ( Carallia brachiata)
RHIZOPHORACEAE
เฉียงพร้านางแอ, ต่อใส้, สันพร้านางแอ(กลาง); กวางล่ามา(ชอง-ตราด); กูมุย(เขมร-สุรินทร์); แก็ก, วงคด, องคต(ลำปาง); ขิงพร้า, เขียงพร้า(ตราด, ประขวบคีรีขันธ์); เขียงพร้านางแอ(ลำปาง); คอแห้ง, สีฟัน(ใต้); เฉ
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นประปรายอยู่ในป่าดงดิบทั่วไป บางครั้งพบขึ้นตามริมฝั่งลำธาร ลำห้วยในป่าเบญจพรรณชื้น
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูง ๒๕-๓๕ เมตร ลำต้นกลมและตรงดี เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ เปลือกแตกเป็นร่องเป็นสะเก็ด สีเทา-ปนดำ ใบรูปมนไข่กลับ กว้าง ๒-๑๐ ซม. ยาว ๕-๑๕ ซม. ขอบอาจเรียบหรือเป็นรอยจักถี่ๆ ปลายแหลมเป็นติ่ง โคนสอบเข้าหากัน คล้ายรูปลิ่ม ดอกออกเป็นช่อตามกิ่ง รวมกันเป็นกระจุกบนก้านช่อดอกสั้นๆ กลีบดอกมี ๕-๘ กลีบ รูปร่างเกือบเป็นแผ่นกลม ผลรูปร่างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ ๗ มม.
ลักษณะเนื้อไม้
สีน้ำตาลปนเหลืองอ่อน ทิ้งไว้นานเข้ากลายเป็นสีแดงเรื่อ หรือน้ำตาลอ่อนแกมแดง เสี้ยนตรง เนื้อหยาบพอประมาณ มีริ้วรัศมีเด่น แข็งแรง ถ้าใช้ในที่ร่มทนทาน เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่าย
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๘๘
สกายสมบัติ
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๘๘๖ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๑๘๘ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๑๐๗,๔๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๐.๗๑ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
มีปริมาณสารละลายในแอลกอฮอล์-เบนซินร้อยละ ๕.๒๐ น้ำเย็นร้อยละ ๓.๓๕ น้ำร้อนร้อยละ ๕.๙๓ และโซเดียมไฮดรอกไซด์ ๑% ร้อยละ ๑๕.๙๔ มีปริมาณขี้เถ้าร้อยละ ๑.๔๙ เพ็นโตซานร้อยละ๑๗.๒๘ ลิกนินร้อยละ๒๖.๑๘ โฮโลเซลลูโลสร้อยละ ๗๐.๗๙ และเซลลูโลส (คร็อสส์และบีแวน) ร้อยละ ๕๒.๖๔
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๑๑.๒-๑๖.๖ ปี เฉลี่ยประมาณ ๑๔.๘ ปี
การอาบน้ำยาไม้
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำกระดานพื้น ฝา และเครื่องเรือนชนิดดี ด้ามเครื่องมือ กรอบรูป สันแปรง ค้างพลู ค้างพริกไทย เปลือก เป็นยาแก้ไข้ ลดความร้อน แก้ไข้กล่อม เสมหะ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ