All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[1558]
 
มะกอกเกลื้อน
Canarium kerrii
LFG
 
 
     
 
เลือกกลุ่ม
ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย
LFG
 
     
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
มะกอกเกลื้อน (Canarium kerrii Craib ) T [1558]
BURSERACEAE
-
 
  มะกอกเกลื้อน มะกอกเลื่อม (ราชบุรี) มะเลื่อม (พิษณุโลก จันทบุรี) ซาลัก (เขมร) โมกเลื่อม (ปราจีนบุรี) กอกกั๋น (ตะวันออกเฉียงเหนือ) มะกอกเลือด (ใต้) = C. subulatum Guill. LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: มะกอกเกลื้อน(Canarium kerrii) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: มะกอกเกลื้อน(Canarium kerrii) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[1558]
มะกอกเกลื้อน ( Canarium kerrii)
BURSERACEAE
มะกอกเกลื้อน มะกอกเลื่อม (ราชบุรี) มะเลื่อม (พิษณุโลก จันทบุรี) ซาลัก (เขมร) โมกเลื่อม (ปราจีนบุรี) กอกกั๋น (ตะวันออกเฉียงเหนือ) มะกอกเลือด (ใต้) = C. subulatum Guill.
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นกระจัดกระจาย อยู่ตามป่าเบญจพรรณแล้ง และป่าแดงทั่วไป ที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๓๐๐-๘๐๐ เมตร
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๑๐-๒๐ เมตร ผลัดใบ เปลือกสีเทา แตกเป็นร่องลึกไปตามลำต้น ลำต้นเปลา ตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งอ่อนมีรอยแผลใบปรากฏอยู่ทั่วไป หรือแตกเป็นสะเก็ด เปลือกในสีน้ำตาลอ่อน มีทางสีขาวผ่าน มียางใสๆ แต่พอแห้งจะออกสีดำๆ กระพี้สีเหลืองอ่อน ใบเป็นช่อ เรียงสลับเวียนกันอยู่เป็นกลุ่มตอนปลายๆกิ่ง ช่อหนึ่งมีใบย่อย ๓-๙ ใบ เรียงเป็นคู่ๆ ตรงข้าม หรือทแยงกันเล็กน้อย ขนาด ๓-๙ x ๖-๑๔ ซม. ใบย่อยคู่ล่างค่อนข้างป้อม เนื้อค่อนข้างหนา โคนเบี้ยว ปลายค่อนข้างสอบ ขอบจักถี่และมักเป็นคลื่นเว้าแหว่ง ท้องใบมีขนสากหรือนุ่มหนาแน่น มีสีขาวมากกว่าหลังใบ ดอกสีขาว ออกเป็นช่อใหญ่ตามง่ามใบ และออกดอกพร้อมกับใบอ่อน กลีบรองดอกและกลีบดอกมีอย่างละ ๓ กลีบ ผลกลมรีๆ ขนาดโตเท่าไข่ไก่แจ้ และมักเป็นสามเหลี่ยมกลายๆ เมล็ดใหญ่และแข็งมาก
ลักษณะเนื้อไม้
สีแดงแกมม่วง ถึงสีน้ำตาลแกมม่วง หรือสีเทา เสี้ยนตรง เนื้อค่อนข้างหยาบ อ่อน เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่าย
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๗๒
สกายสมบัติ
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๒๙๐ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๖๐๒ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๘๑,๓๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๐.๗๖ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๐.๖-๓.๖ ปี เฉลี่ยประมาณ ๑.๘ ปี
การอาบน้ำยาไม้
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำรองเท้าไม้ กระดานพื้น ฝา รอด ตง และการก่อสร้างอื่นๆที่อยู่ในร่ม ไม้ชนิดนี้มีกระพี้หนา ถ้าต้นไม่ใหญ่นักก็มีแก่นน้อย แต่กระพี้มีทางที่จะปรับปรังมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น หีบหรือลังใส่ของ ไม้ขีด ไม้จิ้มฟัน ผล มีรสเปรี้ยวขม แก้ไอ เสมหะเหนียว และให้สีดำ ใช้ทำหมึก