All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[1425]
 
ทองกวาว
Butea monosperma
LFG
 
 
     
 
เลือกกลุ่ม
ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย
LFG
 
     
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
ทองกวาว (Butea monosperma Ktze. ) T [1425]
PAPILIONACEAE
Bastard teak, Bengal kinotree, Kinotree, Flame of the forest
 
  ทองกวาว, ทองธรรมชาติ, ทองพรมชาติ(กลาง);กวาว, ก๋าว(เหนือ); จอมทอง(ใต้); จ้า(เขมร-สุรินทร์); จาน(อุบลราชธานี); ทองต้น(ราชบุรี) LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: ทองกวาว(Butea monosperma) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: ทองกวาว(Butea monosperma) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[1425]
ทองกวาว ( Butea monosperma)
PAPILIONACEAE
ทองกวาว, ทองธรรมชาติ, ทองพรมชาติ(กลาง);กวาว, ก๋าว(เหนือ); จอมทอง(ใต้); จ้า(เขมร-สุรินทร์); จาน(อุบลราชธานี); ทองต้น(ราชบุรี)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นประปรายอยู่ในป่าเบญจพรรณ หรือป่าแดง และป่าหญ้าทั่วประเทศ
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ ๕-๑๕ เมตร โตวัดรอบประมาณ ๖๐-๘๐ เซนติเมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ ลำต้นแตกกิ่งต่ำคดงอไปมา เปลือกสีเทาถึงเทาคล้ำ ค่อนข้างเรียบ แตกระแหงเป็นร่องตื้นๆ เมื่อสับดูจะมีน้ำยางใส ทิ้งไว้สักครู่จะเปลี่ยนเป็นยางเหนียวสีแดงเรื่อๆ ใบเป็นช่อ ๆละ ๓ ใบ เรียงเวียนสลับกัน บนกิ่งแก่จะเรียงรวมกันเป็นกระจุก ตั้งแต่ ๒-๕ ช่อ ใบย่อยที่ปลายก้านเป็นรูปมนกว้างเกือบกลม ใบย่อยด้านข้างกว้างที่โคนและตอนกลางใบ ดอกสีเหลืองถึงแดงสด ออกเป็นช่อแบบไม่แตกแขนง ตามกิ่งก้านและปลายกิ่ง มีทั้งช่อสั้นๆยาวเพียง ๒ ซม. จนถึงช่อยาว ๑๕ ซม. ก้านช่อและก้านดอกมีขนสีน้ำตาลดำ กลีบดอกมี ๕ กลีบ เมื่อออกดอกจะทิ้งใบจนหมดต้น ผลเป็นฝัก สีเขียวอ่อน แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองเมื่อแก่เต็มที่ มีขนอ่อนนุ่มสีขาวเป็นมัน ฝักแบนคล้ายรูปบรรทัด กว้าง ๓.๕ ซม. ยาว ๑๔ ซม. ตอนใกล้โคนฝักยาวเล็กน้อย มีเพียงเมล็ดเดียว ตรงปลายฝัก
ลักษณะเนื้อไม้
เมื่อยังใหม่เนื้อไม้ขาวนวล ไม่มีแก่น ทิ้งไว้กลายเป็นสีนวลปนเทา เป็นไม้ที่เนื้อห่าง หยาบ อ่อน เมื่อแห้งแล้วเบา และหดตัวมาก ไม่แข็งแรง และไม่ทนทาน แต่ถ้าอยู่ใต้น้ำทนดี
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๗๐
สกายสมบัติ
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๓๖๑ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๓๙๕ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๔๙,๐๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๒.๗๘ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๑-๕ ปี เฉลี่ยประมาณ ๓ ปี
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ง่ายมาก (ชั้นที่ ๑)
ประโยชน์
ไม้ ในบางท้องที่ใช้ไม้ทำกระดานกรุบ่อน้ำ ทำเรือขุดหรือเรือโปง ใช้ชั่วคราว กั้นบ่อน้ำ ร่องน้ำ และกังหันน้ำ ใบ ตำพอกแก้ฝีและสิว ถอนพิษ แก้ปวด แก้ท้องขึ้น แก้ริดสีดวง เข้ายาบำรุงกำลัง ดอก รับประทานถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ ภายนอกใช้หยอดตาแก้ตาแดง ปวดเคืองตา ตาแฉะ ตามัว และแก้ราคะตัณหา และให้สีเหลือง ใช้ย้อมผ้า เมล็ด ใช้บำบัดพยาธิภายใน โดยเฉพาะพยาธิตัวกลม บดให้ละเอียดผสมกับน้ำมะนาว ทาแก้ผิวหนังเป็นผื่นแดง อักเสบ คันและแสบร้อน ยาง รับประทานแก้ท้องร่วง เปลือก ให้ใย ใช้ทำเชือก และกระดาษได้ด้วย