[1306] งิ้วป่า ( Bombax valetonii) BOMBACACEAE งิ้วป่า(ประจวบคีรีขันธ์); ไกร่(เชียงใหม่); นุ่นป่า(กลาง)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นประปรายอยู่ห่างๆกัน ตามไหล่เขา หรือเชิงเขาในป่าเบญจพรรณทั่วไป โดยเฉพาะทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๒๐-๒๕ เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง โตวัดรอบประมาณ ๘๐-๒๐๐ ซม. เรือนยอดรูปเจดีย์ต่ำๆ เปลือกสีเทา หรือเทาอมเขียว มีหนามแข็งกระจายทั่วไป เรียบ หรือแตกเป็นร่องตามยาวลำต้น ตามกิ่งมีรอยแผลใบทั่วใบ กิ่งก้านสาขาเกือบตั้งฉากกับลำต้น ใบเป็นช่อแบบใบปาล์ม ใบย่อยมนแกมรูปขอบขนาน เกลี้ยง ท้องใบสีจางกว่าหลังใบ ออกเวียนกันตอนปลายๆกิ่ง ดอกใหญ่ สีขาว มักออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามปลายๆกิ่ง ขณะออกดอกจะทิ้งใบหมด ผลกลม ยาว ผิวแข็ง พอมองเห็นเป็นแนวประสานกัน ๕ กลีบ เมื่อแก่จะแตกตามรอยประสานเมล็ดเล็ก กลม สีดำ มีปุยสีขาวคลุมหนาแน่น |
ลักษณะเนื้อไม้
สีขาว เนื้อหยาบ เหมือนกับไม้งิ้ว แต่ทนกว่า |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๖๔ |
สกายสมบัติ
มีอัตราการยืดหดตัวทางด้านรัศมีประมาณร้อยละ ๕.๒๒
ทางด้านสัมผัสประมาณร้อยละ ๗.๖๑
ทางด้านยาวตามเสี้ยนประมาณร้อยละ ๐.๖๒
|
กลสมบัติ
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๑.๕-๔.๐ ปี เฉลี่ยประมาณ ๒.๕ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ง่ายมาก (ชั้นที่ ๑) |
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำลัง หรือหีบใส่ของ ทำเยื่อกระดาษ ไม้บางไม้อัด ในการก่อสร้าง ใช้ทำเสาเข็ม พื้นและฝาชั่วคราว แจว พาย กรรเชียง กั้นบ่อน้ำและร่องน้ำ หีบศพ หีบชา ของเล่นสำหรับเด็ก ไม้ขีดไฟและไม้จิ้มฟัน |