|
|
|
|
|
อะราง
(Peltophorum dasyrachis Kurz ) T [3795]
CAESALPINIACEAE
|
|
|
อะราง,ร้าง,อะล้าง(นครราชสีมา),กว่าเซก(เขมร กาญจนบุรี),คางรุ้ง,คางฮุ่ง(พิษณุโลก),จ๊าขาม,ซ้าขม(เลย), ตาเซก(เขมร บุรีรัมย์),นนทรี(ภาคกลาง),ราง(ส่วย สุรินทร์)
LFG
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
[3795] อะราง ( Peltophorum dasyrachis) CAESALPINIACEAE อะราง,ร้าง,อะล้าง(นครราชสีมา),กว่าเซก(เขมร กาญจนบุรี),คางรุ้ง,คางฮุ่ง(พิษณุโลก),จ๊าขาม,ซ้าขม(เลย), ตาเซก(เขมร บุรีรัมย์),นนทรี(ภาคกลาง),ราง(ส่วย สุรินทร์)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นเป็นกลุ่มๆ ตามชายป่าดิบแล้ง ทางภาคตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ และขึ้นตามป่าโปร่งชื้น |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงถึง ๓๐ เมตร ต้นเล็กมักจะแตกกิ่งต่ำ แต่พออายุมากขึ้นจะเปลาตรง เรือนยอดเป็นรูปทรงกลม ทึบ เปลือกสีเทา หรือเทาอมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ หรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆทั่วไป เปลือกในสีน้ำตาลปนแดง ยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบเป็นช่อแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับกัน ยาว ๑๕-๔๐ ซม. มีช่อใบแขนงด้านข้างอยู่ตรงข้ามกัน ๕-๙ ช่อ แต่ละช่อมีใบย่อยเล็กๆ คล้ายใบกระถินออกตรงข้ามกัน ๖-๑๘ คู่ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง ๕-๑๐ มม. ยาว ๑๐-๒๕ มม. ปลายมน เว้าตื้นๆ ตรงกลาง หลังใบเกลี้ยงเป็นมัน ไม่มีขน ท้องใบมีขนสีน้ำตาบแดงประปราย ใบย่อยไม่มีก้านใบ ดอกสีเหลือง เป็นช่อ ไม่แตกกิ่งก้าน ยาว ๑๕-๓๐ ซม. ออกตามกิ่ง ห้อยระย้าลงสู่พื้นดิน ผลเป็นฝักแบน รูปบรรทัดแกมรูปหอก สีน้ำตาลแดง กว้าง ๒-๔ ซม. ยาว ๑๐-๑๕ ซม. ปลายและโคนสอบแหลม ฝักแก่จะไม่แตกอ้าออกจากกัน แต่ละฝักมี ๔-๘ เมล็ด เรียงขวางฝัก |
ลักษณะเนื้อไม้
สีชมพูอ่อน ถึงน้ำตาลแกมชมพู เป็นมันเลื่อม เสี้ยนตรง หรือเป็นคลื่น หรือสับสนบ้างเล็กน้อย เนื้อหยาบปานกลาง เลื่อย ผ่า ไสกบ ตบแต่งง่าย |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๗๔ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๖๒๖ กก.
ความแข็งแรง ประมาณ ๙๔๖ กก. / ตร.ซม.
ความดื้อ ประมาณ ๑๐๔,๒๐๐ กก. / ตร.ซม.
ความเหนียว ประมาณ ๑.๗๙ กก.-ม.
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๑.๖-๑๖.๒ ปี เฉลี่ยประมาณ ๕.๒ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ยาก (ชั้นที่ ๔) |
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำกระดานพื้น ฝา เพดาน ทำเครื่องเรือน ไม้บุผนังที่สวยงาม ไถ ปีบใส่ของ พานท้ายและรางปืน
เปลือก มีรสฝาด รับประทานเป็นยากล่อมเสมหะ และโลหิต แก้ท้องร่วง ขับผายลม
|
|
|