สลัดได (1)
การปลูกต้นไม้คนโบราณสอนไว้ว่า ควรปลูกในช่วงดินร้อน ต้นไม้ที่ปลูกลงไปถึงจะรอดตาย ถ้าปลูกในช่วงดินเย็น โอกาสที่ต้นไม้จะรอดเป็นไปได้น้อย
��������������� ช่วงนี้ของปี� (พฤษภาคม – สิงหาคม)� เป็นช่วงเวลาแห่งการปลูกต้นไม้� การปลูกต้นไม้คนโบราณสอนไว้ว่า� ควรปลูกในช่วงดินร้อน� ต้นไม้ที่ปลูกลงไปถึงจะรอดตาย� ถ้าปลูกในช่วงดินเย็น� โอกาสที่ต้นไม้จะรอดเป็นไปได้น้อย� นายมักเลาะเป็นคนชอบสงสัย� เลยถามต่อว่า�
ดินร้อน�
มันเป็นอย่างไร�
ผู้อาวุโสได้ให้ความหมายไว้ว่า� ดินร้อน� คือ�
พื้นดินในช่วงฝนประจำปีตกลงมาใหม่ๆ�
ตอบง่ายๆ คือในช่วงของต้นฤดูฝนนั้นเอง�
ปีนี้มีการรณรงค์ปลูกต้นไม้แบบประชารัฐ�
ด้วยการชักชวนกันปลูกต้นไม้โดยไม่มีงบประมาณ� �ในสมัยก่อนเรียกกันว่า� ประชาอาสา�
นอกจากปลูกต้นไม้� ที่เป็นไม้หลักๆของป่า� เช่น� ไม้ประดู่� มะค่าโมง�
กันเกรา� ยางนา� ฯลฯ แล้ว�
นายมักเลาะยังได้มีโอกาสไปร่วมปลูกกล้วยไม้ป่าเพื่อสร้างความงดงามให้แก่ป่าอีกด้วย� กล้วยไม้ที่ปลูกเป็นกล้วยไม้ที่ขึ้นอยู่กับแผ่นหินมีดอกสวยงามที่เรียกกันว่า� ม้าวิ่ง�
หรือ� แดงอุบล�� ม้าวิ่ง�
หรือ� แดงอุบล� มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า� Phalaenopsis� pulcherrima� �สมัยตระเวนป่าในช่วงหนุ่ม� นายมักเลาะพบกล้วยไม้ชนิดนี้� ตามผลาญหินแถบชายแดนประเทศลาวและเขมรเต็มไปหมด� ช่วงฤดูฝน���
จะเห็นม้าวิ่งออกดอกสีแดงกระจายอยู่เต็มพลาญหินที่อุดมสมบูรณ์� ก้านดอกของม้าวิ่ง� ยาวอยู่ในระดับหน้าอกของนายมักเลาะ� ด้วยความสวยของดอกม้าวิ่ง� เป็นเหตุให้ในปัจจุบัน� หากล้วยไม้ม้าวิ่ง� ได้ยากในผืนป่าที่อยู่ใกล้คน� เนื่องจากก้านดอก ของกล้วยไม้ชนิดนี้แข็งแรง� คนที่อยากได้จะใช้มือดึงบริเวณก้านดอก� ���ต้นม้าวิ่งทั้งลำต้นและรากที่ติดอยู่กับมอสบนแผ่นหินจะหลุดติดมือออกมาทันที�
แต่พอมาอยู่ในเมืองสภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากป่าธรรมชาติ� ไม่นานต้นม้าวิ่งก็ต้องตาย� พลัดพรากจากโลกไปเหมือนสาวบ้านป่าที่ปรับตัวอยู่กับหนุ่มในเมืองไม่ได้
��������������� จากสภาพปัญหาม้าวิ่งค่อยๆ หายไปจากธรรมชาตินี้เอง� มีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยพยายามเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ม้าวิ่งโดยการเพาะเนื้อเยื่อ�
เนื่องจากได้จำนวนของต้นกล้าม้าวิ่งหรือแดงอุบลเป็นปริมาณมาก� กิจกรรมคืนกล้วยไม้ม้าวิ่งสู่ป่าจึงบังเกิดขึ้น�
ปริมาณจำนวนกล้าไม้ขนาดเล็กที่ผลิตขึ้นมีจำนวนมหาศาลจากความตั้งใจของนักอนุรักษ์ธรรมชาติ
�การนำม้าวิ่งหรือม้าวิ่งคืนสู่ธรรมชาติจึงเกิดขึ้น� ตามผลาญหินที่เคยมีม้าวิ่งขึ้นอยู่� แต่อนิจจา� มันไม่ยักกะเป็นไปตามสิ่งที่ควรจะเป็น� พอถึงฤดูแล้ง�
เมื่อเดินไปตามผลาญหินที่แห้งผาก�
จะเห็นซากของกล้วยไม้ม้าวิ่งที่นำมาปล่อยไว้เต็มไปหมดแต่ตายแล้ว�
เนื่องจากไม่สามารถรอดตายจากธรรมชาติที่หฤโหดในช่วงฤดูแล้งได้� เป็นเรื่องตกใจของนักอนุรักษ์เป็นยิ่งนัก
��������������� ท่านจะแก้ไขกันอย่างไร� ที่จะให้ม้าวิ่งกลับมาสู่ผืนป่าได้� เป็นหน้าที่ของนักวิชาการป่าไม้ที่จะต้องเข้ามาแก้ไข� หัวหน้าสวนรุกขชาติน้ำตกสำโรงเกียรติ� ได้ไปสังเกตการขึ้นอยู่ในธรรมชาติของม้าวิ่ง� ในบริเวณที่�
คนไม่เข้าไปรบกวน�
เพื่อทำการทดลองคืนม้าวิ่งสู่ป่าให้ได้�
จากการสังเกต� ม้าวิ่งในธรรมชาติ� ช่วงที่มีดอกพบว่า� ม้าวิ่งไม่ได้ขึ้นอยู่โดดๆ� จะเห็นม้าวิ่งขึ้นแทรกอยู่ในกอของ� สลักได�
หรือ� สลัดได (Euphorbia
antiquorum)� ด้านล่างจะเห็นสีเขียวของมอส� รากของม้าวิ่งถูกมอสปกคลุมมองไม่เห็นเรือนรากเลย� ฤดูแล้ง�
จะเห็นกอของม้าวิ่งได้ยาก�
แต่ถ้าสังเกตโดยละเอียดจะพบว่า�
ม้าวิ่งทนอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่วิกฤติได้�
เนื่องจากกอของสลัดไดช่วยปกป้องแสงแดดที่ร้อนแรงให้แก่ม้าวิ่ง� พวกเราก็เลยเรียนแบบธรรมชาติ� นำกล้าเล็กๆของม้าวิ่งวางแทรกเข้าไปในระหว่างกอของสลัดไดแล้ว� ติดตามผลการเจริญเติบโตของม้าวิ่งปรากฏว่า� เมื่อเวลาผ่านไปสองปี� ม้าวิ่งชุดแรกออกดอกแล้วแต่ก้านดอกยังสั้น� ยาวประมาณ�
1� ฟุตครึ่งตามขนาดของต้นที่มีขนาดเล็กอยู่
� 
���������������� ปัญหาของการปลูกม้าวิ่งลักษณะนี้แลกมาด้วยรอยแผลเล็กๆ� บริเวณมือ�
 เนื่องจากหนามของสลัดไดในขณะที่พยายามแทรกมือแหวกกอเข้าไป� เพื่อปลูกม้าวิ่งเข้าไปบริเวณกลางกอ� ด้วยความสงสัยของนายมักเลาะอีกตามเคยว่า� สลัดได�
มีความหมายอย่างไร� เลยได้คำตอบจากคนไทยชาติพันธุ์� ไทย-เขมร�
�สลัด �ภาษาเขมร�
หมายถึง� “สะบัด”� ได�
มีความหมายในภาษาเขมรว่า� “มือ”� รวมความหมายเข้าด้วยกัน� สลัดได�
หมายถึง� ลักษณะของการสะบัดมือนั่นเอง� ใครสงสัยเมื่อเดินผ่านผลาญหินที่มีต้นสลัดไดลองเอามือลอดเข้าไปจับก้อนมอสกลางกอสลัดไดดู� จะเข้าใจเลยว่า� สลัดได�
มีความหมายว่าอย่างไร
� 
�
ลองดู� อย่าเชื่อ�
นายมักเลาะ
ฮ่า� ฮ่า� ฮ่า
 Last updated: 2017-08-21 15:51:49
|
@ สลัดได (1) |
|
|
|
|
|
|
|
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ สลัดได (1)
|