คนที่อยากให้มีคนเคารพ ต้องรู้จักเคารพผู้อื่น
 
     
 
คนอีสานเรียก ป่าบุ่ง ป่าทาม ว่าอะไร
ปัจจุบัน คำว่า ทาม ได้ถูกกำหนดไว้ว่า เป็นป่าประเภทหนึ่งของประเทศไทย ขอบคุณท่าน ศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย สันติสุข ราชบัณฑิต ที่ได้เขียนอธิบายความหมาย
 

������������� เมื่อสามสิบกว่าปีที่ผ่านมา ตอนนายมักเลาะเรียนหนังสือ ไม่ได้เรียนเรื่อง พื้นที่ชุ่มน้ำที่เรียกกันว่า ป่าบุ่งป่าทาม คำว่า ป่าบุ่งป่าทาม นายมักเลาะ เพิ่งจะมาได้ยินเมื่อสัก 20 ปี ที่ผ่านมานี้เองช่วงปัญหาความขัดแย้งเรื่องการสร้างฝายราษีไศล เคยโดนตั้งคำถามในการประชุมต่าง ๆ ว่า เป็นป่าไม้ ช่วยอธิบายคำว่าป่าบุ่ง ป่าทาม หรืออธิบายความสำคัญของ ป่าบุ่ง ป่าทาม ต่อระบบนิเวศของแม่น้ำให้ฟังหน่อย ต้องขอตอบตรงๆว่า เจอคำถามนี้ไปไม่เป็น เพราะไม่มีสอนในมหาวิทยาลัยเลยต้องไปเรียนรู้จากผู้คนที่มีชีวิตอยู่กับ แม่น้ำมูล โชคดีที่ ท่านอาจารย์ได้สอนหลักการของระบบนิเวศน์ให้ในสมัยที่เรียนหนังสืออยู่ ก็เลยได้ใช้ความรู้ที่เรียน ปรับใช้กับการเรียนรู้จากผู้รู้ที่ใช้ชีวิตจริงในพื้นที่ป่าทาม นายมักเลาะยังคงใช้คำว่า ป่าบุ่ง ป่าทาม ตามที่ผู้คนในสมัยนั้นพูดกัน
แต่เมื่อลงไปในพื้นที่พูดคุยกับชุมชนที่ตั้งสองฝั่งของแม่น้ำมูล และลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูล พี่น้องที่อาศัยอยู่ใกล้กับลำน้ำมูล ไม่ได้ใช้คำว่า ป่าบุ่ง ป่าทาม������

มีเพียงนักวิชาการจากภายนอกที่เข้าไปพูดคุยและแกนนำในการรณรงค์รักษา ป่าบุ่ง ป่าทาม ที่ใช้คำว่า ป่าบุ่ง ป่าทาม เพื่ออธิบายถึง ป่าประเภทหนึ่งที่พบบริเวณลำน้ำสายต่างๆในภาคอีสาน คำว่า���� ป่าบุ่ง ป่าทาม จึงเป็นที่คุ้นเคยและพูดกันในเวทีการประชุม แก้ไขข้อขัดแย้ง หรือตามสื่อต่างๆ พี่น้องเจ้าของวัฒนธรรมริมลำน้ำ เรียก พื้นที่อยู่ริมลำน้ำว่าอะไร นายมักเลาะจับสังเกตได้ ทุกแห่ง ชุมชนดั้งเดิม จะเรียกพื้นที่ลักษณะนี้ว่า ทาม ไม่ใช่ ป่าทาม หรือ ป่าบุ่ง ป่าทาม

การจำแนกระบบนิเวศน์ป่าของคนท้องถิ่นอีสาน จะไม่มีป่านำหน้าประเภทป่าต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว เช่น ป่าเต็งรังที่ขึ้นอยู่ในพื้นที่สูงขึ้นมา พี่น้องจะเรียกว่า โคก ป่าดงดิบหรือป่าดิบแล้ง จะเรียกว่า ดง ดังนั้นในภาคอีสานพื้นที่ป่าจะถูกเรียกว่า ทาม โคก ดง สำหรับคำว่า บุ่ง มาจากไหน บุ่งกับทามเป็นของคู่กัน
�มีทามก็จะมีบุ่ง บุ่ง คือหนองน้ำที่อยู่ในพื้นที่ทาม บุ่ง เป็นลักษณะของภูมิประเทศลักษณะหนึ่ง ที่พบอยู่ในทามเกิดจากอิทธิพลการไหลของน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก เกิดเป็นหนองน้ำหรือบุ่งขึ้น ทาม จะเป็นชื่อเรียกลักษณะของป่าที่มีน้ำท่วมในฤดูน้ำหลากทั้งหมด บุ่ง เป็นส่วนหนึ่งของทาม ถ้าท่านได้ไปคุยกับชุมชนที่อยู่ในภาคอีสานคำว่า ทามชุมชนทุกแห่งจะเข้าใจและอธิบายให้เราเข้าใจได้ แต่คำว่า ป่าบุ่ง ป่าทาม ผู้ที่เข้าใจคือ พี่น้องที่คิดสู้เพื่อรักษาป่าทามไว้จากแนวนโยบายพัฒนาของรัฐ������

��������������� ปัจจุบัน คำว่า ทาม ได้ถูกกำหนดไว้ว่า เป็นป่าประเภทหนึ่งของประเทศไทย ขอบคุณท่าน ศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย สันติสุข ราชบัณฑิต ที่ได้เขียนอธิบายความหมายของคำว่า ป่าบุ่ง ป่าทาม ไว้ในหนังสือป่าของประเทศไทย แล้ว


Last updated: 2017-04-22 10:52:29


@ คนอีสานเรียก ป่าบุ่ง ป่าทาม ว่าอะไร
 


 
     
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ คนอีสานเรียก ป่าบุ่ง ป่าทาม ว่าอะไร
 
     
     
   
     
Untitled Document
 



LFG
www.lookforest.com|บทความ|โปรแกรมคาร์บอนต้นไม้|ฐานข้อมูลชีวภาพ|เครือข่ายฟาร์มป่าไม้|ติดต่อบรรณาธิการ
Powered by: LOOK FOREST GROUP
23/1 ซอยรัชดาภิเษก 64 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กทม.
Clicks: 
1,243

Your IP-Address: 18.191.44.99/ Users: 
1,242