น้าวน้ำ
สังเกตเห็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง ที่ถือได้ว่าเป็น Indicator ของป่าทาม สามารถขึ้นอยู่ในพื้นที่ ที่น้ำท่วมยาวนานกว่าไม้ชนิดอื่นๆ
นายมักเลาะ
เป็นนักเดินทาง เดินทางไปเยี่ยมชมป่าทักทายพี่น้องที่ดูแลรักษาป่าอยู่เป็นประจำ
โดยเฉพาะป่าทาม ชอบออกไปเยี่ยมชมบ่อยมากเนื่องจาก สภาพของระบบนิเวศ
รูปชีวิตป่าทามจะแตกต่างกันไปในแต่ละฤดูกาล
อาหารการกินที่หาเก็บได้ในป่าทามในแต่ละเดือนก็แตกต่างกัน ช่วงต้นปลายปีออกไป
ป่าทาม
จะได้กินปลาที่หาได้จากลำเซบาย
ช่วงต้นฤดูร้อนไปกินก้อยไข่มดแดง
ที่อยู่ชุกชุมแถบป่าชายเฟือย
พอถึงสงกรานต์ก็จะไปกินปลาในหนองหรือบุ่งที่กระจายอยู่ทั่วไป
พอต้นฤดูฝนเห็ดผึ้งจะออกเต็มป่า พร้อมกับหน่อของไผ่กระซะ ที่แทงหน่อมารับฝน ช่วงน้ำท่วมกินปลาขนาดใหญ่ ที่เข้ามา ติดเบ็ด
ติดลอบ วนเวียนกันเช่นนี้ ชุมชน ที่อยู่ใกล้ป่าทามสามารถดำรงชีวิตได้ โดยพึ่งพิงจากภายนอกน้อยที่สุด
เคยถามพี่น้องที่อยู่รอบป่าทามว่า ถ้าถูกปิดล้อมไม่ให้ออกไปไหนเลย
พวกเราจะอยู่ได้ไหม พี่น้องบอกว่าอยู่ได้สบายมาก
จากการออกไปเยี่ยมชมพื้นที่ทาม ในทุกฤดูกาล นายมักเลาะ
สังเกตเห็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง ที่ถือได้ว่าเป็น Indicator ของป่าทาม
สามารถขึ้นอยู่ในพื้นที่ ที่น้ำท่วมยาวนานกว่าไม้ชนิดอื่นๆ ไม้ชนิดนี้ ได้แก่
ไม้น้าวน้ำ หรือบางคนเรียกว่า นาวน้ำ ตามสำเนียงในแต่ละที่ ไม้น้าวน้ำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Artabotrys spinosus Craib เป็นไม้ตระกูลเดียวกับการะเวกหรือกระดังงา พบไม้น้าวน้ำ
ขึ้นอยู่บริเวณป่าชายเฟือยเท่านั้น และจะพบมากบริเวณริมลำห้วย หรือเนินเล็กๆที่อยู่กลางลำน้ำ ช่วงฤดูน้ำหลาก
ไม้นาวน้ำจะถูกน้ำท่วมลำต้น เห็นแต่ปลายยอดพลิ้วตามสายน้ำอยู่ไหวไหว ในลำน้ำมูล
ยังพอเห็นนาวน้ำขึ้นอยู่ บริเวณดินดอนกลางลำน้ำ
ถึงแม้จะไม่มีป่าชายเฟือยเป็นผืนใหญ่ให้เห็น ลูกน้าวน้ำเป็นผลฟูลอยไปตามน้ำ
เมื่อน้ำลดเมล็ดก็เจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ได้
จึงพบน้าวน้ำตามแก่งหินในแม่น้ำมูลหรือแม่น้ำโขง
ในฤดูแล้ง ถ้าเราเห็นต้นนาวน้ำที่ไหน
จะบอกได้เลยพื้นที่ตรงนั้นเป็นพื้นที่น้ำท่วมในช่วงฤดูน้ำหลากแน่นอนเราจะไม่พบน้าวน้ำขึ้นอยู่ในทุ่งทามหรือโนน
แต่จะพบอยู่ในป่าชายเฟือยและเนินทราย หรือกองหินที่อยู่ในลำน้ำเท่านั้น
Last updated: 2017-01-28 12:03:18
|
@ น้าวน้ำ |
|
|
|
|
|
|
|
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ น้าวน้ำ
|