ป่าทามยามน้ำหลาก
คำพังเพยที่ว่า น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา สามารถมาพิสูจน์ได้ ในป่าทามทุ่งมนได้ทุกปี
�
��������������� ปกติ
นายมักเลาะจะหาโอกาสที่จะไปเยี่ยมชมป่าทาม ขณะนี้น้ำท่วมทุ่งมนเป็นประจำ
เพื่อศึกษาสภาพของป่าทามในอีกรูปแบบที่แตกต่างจากฤดูแล้ง
ปีนี้ภาคอีสานมีปริมาณฝนตกมาก ฝนตกตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนจนถึงกลางตุลาคม
ปกติทุ่งมนจะถูกน้ำท่วมปีละ 4-5 ครั้ง แต่ละครั้งน้ำท่วมจนพายเรือได้สะดวกประมาณเจ็ดวัน
แล้วน้ำก็ลด��
ไม่สามารถพายเรือได้เมื่อเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบน สองสามวันต่อมา
น้ำในทุ่งมนก็จะสูงขึ้นจนท่วมทุ่งทามอีก
สลับไปเช่นนี้ตลอดช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายนของปี แต่ถ้าปีไหนมีพายุดีเปรสชั่นพัดผ่าน
จังหวัดมุกดาหาร ยโสธร ทุ่งมน จะมีน้ำท่วมต่อเนื่องและยาวนานมากกว่าหนึ่งเดือน
��������������� กลางฤดูฝน
พี่น้องบ้านม่วง ที่ตั้งบ้านอยู่บนโนนทุ่งทาม จะเตรียมอุปกรณ์ในการจับปลาไว้
เพื่อใช้จับปลาที่ว่ายทวนน้ำจากแม่น้ำมูลขึ้นมาหากินและวางไข่ในป่าทามลำเซบายตอนกลาง
เครื่องมือจับปลามีหลากหลาย ตั้งแต่ ลอบขนาดใหญ่ใช้ดักปลาขนาดใหญ่ เช่น ปลาค้าว
ปลาคัง ปลาซวย ปลาบึก ตุ้ม ลอบขนาดเล็กมีเหยื่อใส่ไว้ข้างใน เพื่อดักปลาขนาดเล็ก
เช่น ปลายอน ปลากด เหยื่อที่ใช้มีตั้งแต่ รำข้าวที่มีการผสมสูตรต่างๆ
ตามความเชี่ยวชาญของพรานปลาแต่ละคน เหยื่อที่หาง่ายได้แก่ ไส้เดือน �
หรือปลวก
ช่วงเวลาสองสามเดือนที่น้ำท่วมป่าทาม ถ้าใครมาเยี่ยมยาม
จะมีปลาฝากติดมือกลับบ้านทุกครั้ง คำพังเพยที่ว่า น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา
สามารถมาพิสูจน์ได้ ในป่าทามทุ่งมนได้ทุกปี สังเกตต้นไม้ในป่าทาม
จะมีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมที่มีน้ำเป็นตัวกำหนด
เห็นได้จากการแพร่พันธุ์พืชหลายชนิด เมล็ดจะแก่พอดีในช่วงน้ำหลาก เช่น ต้นหว้า
ลูกหว้าในป่าทาม บางต้นจะมีรสชาติถูกปากปลา พรานปลาจะมาวางเบ็ดใต้ต้นหว้า
เพื่อจะจับปลาสวาย หรือปลาซวยที่มักกินลูกหว้า คำว่า ซวย ในภาษาอีสาน
ถ้าแปลเป็นภาษากลาง ซวย แปลว่า กรวย น่าจะมาจากสัญลักษณ์การโบกหางของปลาสวาย
แล้วทำให้น้ำบริเวณนี้หมุนเป็นวน มีรูปร่างคล้ายกรวย ต้นแฟบน้ำหรือต้นหูลิง
เมล็ดจะมีลักษณะแบนคล้ายเมล็ดประดู่แต่เล็กกว่า�
เมื่อน้ำท่วมจะหลุดลอยไหลไปตามน้ำ เมื่อน้ำลดก็พร้อมเจริญเติบโตเป็นต้นไม้ในพื้นที่
เมล็ดไม้ในป่าทาม จะมีเนื้อฟู ช่วยพยุงให้ลอยไปตามกระแสน้ำ เช่น ไม้มะดัน
เมล็ดจะแก่และร่วงในช่วงน้ำหลาก

ป่าทามช่วงฤดูแล้งเป็นที่อยู่อาศัยสัตว์ขนาดเล็กมากมาย
มด บึ้ง กะปอม กิ้งก่า ตะขาบฯลฯ เมื่อน้ำท่วมป่าทามครั้งแรกของปี
สัตว์เหล่านี้จะต้องหนีน้ำที่ไหลบ่า สัตว์ขนาดใหญ่พวก อีเห็น กระต่าย
จะอพยพไปถึงโนนทาม สัตว์แมลงขนาดเล็ก ที่อพยพไม่ทันก็จะลอยไปตามน้ำ
กลายเป็นอาหารอันโอชะของปลา บางส่วนก็เกาะต้นไม้ที่น้ำท่วมไม่ถึง
รักษาชีวิตให้อยู่รอดรอจนน้ำลด เพื่อที่จะดำรงชีวิตให้อยู่ต่อไปในปีหน้า
วัฎจักรเช่นนี้เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ของวิถีชีวิตในป่าทาม 
 Last updated: 2016-11-07 18:19:54
|
@ ป่าทามยามน้ำหลาก |
|
|
|
|
|
|
|
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ ป่าทามยามน้ำหลาก
|