ช่วยตัวเราเองก่อนแล้วคนอื่นก็จะมาช่วยเรา
 
     
 
วุฒิอาสา : แนวคิดเลขาสภาพัฒน์
พระราชดำรัส... สู่ธนาคารสมองย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2543 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้มีพระราชดำรัสพระราชทานในที่ประชุมมหาสมาคม ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐานเกี่ยว
 

จากพระราชดำรัส... สู่ธนาคารสมอง ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2543 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้มีพระราชดำรัสพระราชทานในที่ประชุมมหาสมาคม ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐานเกี่ยวกับเรื่องธนาคารสมอง ในการนำผู้ที่เกษียณอายุแล้ว ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ มาช่วยงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการขับเคลื่อนธนาคารสมอง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ธนาคารสมองจึงเป็นแหล่งรวมของวุฒิอาสา ซึ่งเป็นคลังปัญญาของประเทศ ที่พร้อมอาสาร่วมพัฒนาสังคมและประเทศ ในลักษณะการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน โดยไม่หวังผลตอบแทน แต่มุ่งสร้างประโยชน์ให้เกิดกับส่วนรวมของประเทศ เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน และเป็นการดำเนินงาน ที่คำนึงถึงการนำทรัพยากรมนุษย์อันทรงคุณค่า คือ ผู้สูงอายุที่เกษียณหรือลาออกจากงานแล้ว ซึ่งมีอยู่จำนวนมากในประเทศไทย มาร่วมสมัครเป็น “วุฒิอาสา” อาสาทำงานให้กับสังคมจากการสำรวจโครงสร้างประชากรล่าสุดพบว่า ประเทศไทยในปัจจุบัน กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ� ดังนั้น การนำความรู้ และประสบการณ์ของผู้สูงอายุมาใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมนั้น เป็นวิสัยทัศน์อันยาวไกลมาก อันเป็นการเชื่อมรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงที่ประเทศต้องเผชิญอยู่ รวมทั้งสามารถที่จะถ่ายทอดภูมิปัญญาความรู้แก่อนุชนรุ่นหลัง เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามเป็นประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติต่อไป


ยอดขณะนี้มีผู้สมัครเป็นวุฒิอาสาแล้ว จำนวน 3,492 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 18 มิถุนายน 2552) ประกอบด้วยผู้ที่มีความรู้ความสามารถถึง 21 สาขา เช่น ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านการศึกษา ด้านการเกษตร และภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น วุฒิอาสาธนาคารสมอง บทบาทผู้สูงอายุที่น่าจับตามองโดย ดร.อำพน กิตติอำพน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ“วุฒิอาสา” อาสาทำงานให้สังคม

การทำงานของวุฒิอาสาวุฒิอาสามีการทำงานเป็นเครือข่าย ไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานหลัก เพราะวุฒิอาสาไม่มีกรอบเวลาการปฏิบัติงานที่จำกัด แต่จะมีรูปแบบของการขับเคลื่อนที่ชัดเจน บทบาทที่สำคัญของวุฒิอาสามิใช่ผู้ที่ลงไปปฏิบัติงานแทนหน่วยงานและองค์กรต่างๆ หรือปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกับหน่วยงานปกติ แต่เป็นการนำปัญญา ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์จากการทำงาน มาช่วยเสริมหรือเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานและองค์กรต่างๆ โดยการเป็นที่ปรึกษาหรือเป็นพี่เลี้ยง ให้คำแนะนำ จัดการสาธิต ฝึกอบรม ติดตามดูงาน ตลอดจนเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานร่วมกันจึงอาจกล่าวได้ว่า วุฒิอาสา เป็นกลไกหนึ่งที่สามารถขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืนและสร้างภูมิคุ้มกันให้เกิดขึ้น ผ่านการนำเอาประสบการณ์ ความรู้ต่างๆ มาสอนและถ่ายทอดให้กับเยาวชนของชาติ ซึ่งจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต โดยไม่หวังผลตอบแทน แม้จะเกษียณอายุแล้วก็ตาม


Last updated: 2010-10-04 01:03:02


@ วุฒิอาสา : แนวคิดเลขาสภาพัฒน์
 


 
     
เธ™เธฒเธกเธœเธนเน‰เธชเนˆเธ‡         [1/15763]...xxx233.50.153 2022-03-19 01:37:02
    เธ‚เน‰เธญเธ„เธงเธฒเธก

เธ™เธฒเธกเธœเธนเน‰เธชเนˆเธ‡         [2/15706]...xxx233.50.217 2022-02-02 19:14:02
    เธ‚เน‰เธญเธ„เธงเธฒเธก

เธ™เธฒเธกเธœเธนเน‰เธชเนˆเธ‡         [3/11596]...xxx146.166.20 2021-08-11 09:19:58
    เธ‚เน‰เธญเธ„เธงเธฒเธก

 
     
     
   
     
Untitled Document
 



LFG
www.lookforest.com|บทความ|โปรแกรมคาร์บอนต้นไม้|ฐานข้อมูลชีวภาพ|เครือข่ายฟาร์มป่าไม้|ติดต่อบรรณาธิการ
Powered by: LOOK FOREST GROUP
23/1 ซอยรัชดาภิเษก 64 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กทม.
Clicks: 
1,576

Your IP-Address: 18.119.11.179/ Users: 
1,574