ใครจะทำอะไรได้ดีและมีความสุข ต้องมีฝัน
 
     
 
โก้งโค้ง
มีนักเรียนตัวเล็ก ๆ มาทำท่าโก้งโค้ง วัดความสูงของต้นไม้ให้พวกเราได้ดู พร้อมเล่าให้พวกเราฟังว่า แต่โบราณคนในอดีตจะตัดต้นไม้ ขุดทำเป็นเรือ
 

��������������� ยุคนี้เป็นยุคเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว เพียงแค่ข้ามปี สิ่งของบางอย่างก็กลายเป็นสิ่งล้าสมัยไปแล้ว ยกตัวอย่าง ในช่วงแรกเริ่มของการทำงาน เราใช้เครื่องพิมพ์ดีดในการพิมพ์รายงานหรือพิมพ์หนังสือ เป็นเวลาต่อเนื่องมากว่า 20 ปี ในช่วง 20 ปีนี้ ไม่มีการเปลี่ยนเครื่องพิมพ์ดีดเลย มีแต่ซ่อมแซมเครื่องพิมพ์ เป็นบางครั้งบางคราวเท่านั้นเองต่างจากช่วง 20 ปี หลังมานี้ เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาในชีวิตการทำงาน เราเริ่มรู้จักเครื่องพิมพ์แบบใหม่ที่เข้ามาทดแทน แต่ต่างกันที่ เราจะต้องเปลี่ยนเครื่องพิมพ์ทุกหนึ่งปี ซื้อสีเติมทุกสามเดือน ���20 ปีที่ผ่านมา เปลี่ยนเครื่องพิมพ์ไปไม่น้อยกว่า 20 เครื่อง หมดเงินค่าใช้จ่ายในการพิมพ์มากกว่าเครื่องพิมพ์ดีดหลายเท่าตัว เพื่อแลกกับความรวดเร็วและสวยงามที่ได้จากเทคโนโลยี มีคำคนโบราณที่สอนสืบสอดกันมาว่า �����อย่าหลงของใหม่จนลืมของเก่า เป็นเรื่องที่น่าคิดเคยผ่านบทความของฝรั่งบทความหนึ่ง ที่พยายามสอนให้คนยุคใหม่ของเขารู้จักการใช้หินเหล็กไฟในการก่อไฟ โดยให้เหตุผลว่า หากระบบไฟฟ้าขัดข้อง หรือถูกทำลายลงด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม คนยุคใหม่จะต้องจุดไฟเพื่อสร้างแสงสว่างและความอบอุ่นให้แก่ตัวเองได้

��������������� กลางปีนี้นายมักเลาะได้ออกไป พบปะพี่น้องที่รักษาป่าในจังหวัดอุบลราชธานีริมแม่น้ำโขง เพื่อชื่นชมในการดูแลรักษาป่า มีนักเรียนตัวเล็ก ๆ มาทำท่าโก้งโค้ง วัดความสูงของต้นไม้ให้พวกเราได้ดู พร้อมเล่าให้พวกเราฟังว่า แต่โบราณคนในอดีตจะตัดต้นไม้ ขุดทำเป็นเรือ เพื่อใช้ในการสัญจรไปมา หรือหาปลาในบริเวณลำน้ำโขง การกะคำนวณความยาวของต้นไม้ เมื่อโค่นต้นไม้ลงมาแล้วจะได้ความยาวของเรือตามที่ต้องการได้พอดี โดยไม่ต้องปีนขึ้นไปวัดความสูง เมื่อตัดโค่นต้นไม้ลงมาแล้วได้ความยาวตามที่ต้องการ ด้วยวิธีโก้งโค้ง พวกเราได้สังเกตและทดลองเปรียบเทียบความสูงที่ได้ด้วยวิธีโบราณ ที่เรียกว่า โก้งโค้ง กับ เครื่องมือวัดความสูงของต้นไม้ที่ทันสมัยของฝรั่งที่เรียกกันว่า Vertex ปรากฏว่าได้ความสูงของต้นไม้ใกล้เคียงกัน

��������������� นักเรียนตัวเล็ก ๆ ของเรา ได้สาธิตพร้อมอธิบายหลักการวัดความสูงของต้นไม้ว่า ถ้าต้องการวัดความสูงของต้นไม้ ในเบื้องแรก จะไปยืนห่างจากต้นไม้พอประมาณ แล้วหันหลังให้ต้นไม้พร้อมก้มหัวลง มองลอดหว่างขาของตนเอง ไปยังบริเวณส่วนที่สูงที่สุดของลำต้น ที่จะตัดมาใช้ประโยชน์ ถ้ามองไม่เห็นหรือต่ำเกินไป ก็เคลื่อนตัวเข้าหรือออกจนมองเห็น บริเวณที่ต้องการตัดได้ชัดเจนหรือต้องการวัดความสูง
ของต้นไม้ก็มองลอดไปยังยอดไม้ จากนั้นก็ยืนขึ้นวัดระยะจากบริเวณที่ยืนไปยังโคนต้นของต้นไม้ ระยะที่ได้ก็จะเป็นความสูงของท่อนไม้ที่เราต้องการตัด วิธีวัดระยะจากโคนต้นไม้ถึงบริเวณที่ยืน ถ้าไม่มีเทปหรือไม้วัดจะทำอย่างไร คนโบราณเขาจะใช้วิธีเดินนับก้าว และคำนวณ ระยะทางได้เป็นเมตรหรือวา ตามที่ฝึกเอาไว้ เทคนิคการเดินนับก้าวนี้ เป็นเทคนิคเบื้องต้น ที่คนเรียนรังวัดมา จะถูกฝึกให้ทดลองเดินมาตั้งแต่สมัยที่เรียนวิชานี้ ที่จำได้ นายมักเลาะเองในระยะ 100 เมตร จะเดินได้จำนวน 143 ก้าว แต่ละคนจะมีจำนวนก้าวใน 100 เมตร
ไม่เท่ากัน ตามความยาวในการเดินของแต่ละคน เมื่อนำเอาเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่มาอธิบายแล้ว หลักการที่คนโบราณทำ ก็คือ วิชา ตรีโกณมิติ ที่เราเรียนกันมานั่นเอง

��������������� เมื่อเราโก้งโค้งก้มหน้าลอดหว่างขาไปยังมุมภายในที่จุด ข กับ ค จะมีขนาดเท่ากันคือ 45 องศา ระยะความสูงของต้นไม้ที่ต้องการ (กข) จะเท่ากับระยะจากที่ก้มโก้งโค้งมายังต้นไม้ (กค)

��������������� นี่คือความรู้โบราณดั้งเดิมที่ตกทอดมาไม่ต้องใช้เครื่องมือทันสมัย ก็สามารถนำมาใช้งานได้จริง ผู้เขียนเป็นคนโบราณ สมัยนี้เขามีเทคโนโลยี อุปกรณ์ที่ทันสมัยในการวัดความสูงต้นไม้ แต่คำเก่าที่เคยสอนกันไว้ว่า รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม น่าจะคงใช้ได้ ถ้าสักวันหนึ่งอุปกรณ์ที่เทคโนโลยีเหล่านี้ใช้ไม่ได้ ด้วยเหตุผลใด ๆ ����ก็ตาม เราก็ยังคงวัดความสูงของต้นไม้ได้ พวกเราเห่อฝรั่งแต่ก็ต้องชมเขาว่า เขายังสอนลูกหลานกันดีที่ให้รู้จักหินเหล็กไฟ แต่พวกเราได้สอนลูกหลานให้ รู้จักของโบราณที่เป็นสิ่งดี ๆ ที่มีอยู่ในบ้านเมืองเราหรือยัง



Last updated: 2015-12-05 06:14:30


@ โก้งโค้ง
 


 
     
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ โก้งโค้ง
 
     
     
   
     
Untitled Document
 



LFG
www.lookforest.com|บทความ|โปรแกรมคาร์บอนต้นไม้|ฐานข้อมูลชีวภาพ|เครือข่ายฟาร์มป่าไม้|ติดต่อบรรณาธิการ
Powered by: LOOK FOREST GROUP
23/1 ซอยรัชดาภิเษก 64 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กทม.
Clicks: 
1,001

Your IP-Address: 13.59.18.177/ Users: 
997