โดมประดิษฐ์
คนในอีสานทั้งชาติพันธุ์ไทยลาว ไทยเขมร ไทยกวย ในอดีต จะตั้งชื่อบ้านจากชื่อต้นไม้เด่น ที่บ้านนั้นตั้งอยู่ หรือลักษณะภูมิประเทศสำคัญที่อยู่รอบ ๆ บ้านนั้น
����������������������� นายมักเลาะ� มักจะทำตัวเป็นคนขี้สงสัยอยู่เสมอ� บางทีก็ทบทวนตัวเองเหมือนกัน� มันจะต้องสงสัยอะไรนักหนา� สงสัยพาให้มีเรื่อง� ที่จะต้องค้นหาคำตอบอยู่ตลอดเวลา� ชื่อบ้านนามเมืองในอีสาน� นายมักเลาะก็มักจะสงสัย� และนำข้อสงสัยไปสอบถามผู้รู้อยู่เรื่อย� ได้คำตอบที่แตกต่างกัน� ไปตามประสบการณ์ของผู้รู้แต่ละท่าน� นักมานุษยวิทยาที่นายมักเลาะรู้จัก� ท่านมักจะสอนอยู่เสมอว่า� ความหมายหรือความเชื่อของแต่ละคนมีแตกต่างกัน� อย่าไปปิดกั้นความคิดของแต่ละคนว่าคนนี้ถูกหรือไม่ถูก� แต่ให้จดบันทึกสิ่งเหล่านั้นไว้เป็นหลักฐาน� ถูกผิดเป็นเรื่องของผู้คนในอนาคต� ที่จะตัดสินใจตามข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา� บันทึกไว้ก่อนที่ความรู้ต่าง ๆ จะสูญหายไปกับตัวบุคคลที่แก่เฒ่าร่วงโรยไป� ขอยกตัวอย่างชื่อบ้าน� บ้านสงฆ์เปลือย� ที่เขียนอยู่ริมถนนหลาย ๆ สายในอีสาน� ภาษาเดิมคือ� สงเปือย� สง� คือ� ลักษณะของต้นไม้ขนาดไม่ใหญ่นัก� อยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่� ถ้าเป็นภาษาวิชาการป่าไม้� คือ� ป่าไม้รุ่นสอง� (secondary� forest)� นั่นเอง� เปือย� คือ� ต้นตะแบกใหญ่� ที่คนภาคกลางเรียกกัน� สงเปือย� ก็คือ� พื้นที่ป่าไม้ตะแบกรุ่นที่สองขึ้นอยู่หนาแน่น� แต่พอเขียนด้วยภาษากลาง� สงฆ์เปลือย� ความหมาย� เป็นคนละเรื่องเดียวกันเลย
��������������������� โดมประดิษฐ์� ก็เช่นกัน� โดมประดิษฐ์� เป็นชื่อของบ้าน� บ้านหนึ่ง� ในพื้นที่อำเภอน้ำยืน� จังหวัดอุบลราชธานี� ภาษาทางราชการเขียนไว้� ดังกล่าวข้างต้น� ถ้าแยกคำคำนี้ออกเป็นสองคำ� จะมีคำว่า� โดม� กับคำว่า� ประดิษฐ์� ทั้งสองคำไม่ใช่คำไทยดั้งเดิม� โดม� มาจากภาษาต่างประเภทที่เขียนว่า� Dome� คือลักษณะหลังคาโค้งรูปครึ่งวงกลม� ประดิษฐ์� เป็นภาษาสันสกฤต� แปลว่า� สร้างขึ้น� เมื่อรวมกันน่าจะแปลว่า� ผู้ที่สร้างหรือผลิตโดมขึ้นมา� ความหมายนี้� ก็น่าจะเป็นไปได้� แต่นายมักเลาะพยายามหาสิ่งที่เรียกว่า� โดม� ในพื้นที่บริเวณนี้� ก็ยังหาไม่พบ� แต่อย่างที่กล่าวในตอนต้น� นายมักเลาะ� เป็นคนขี้สงสัย� จากประสบการณ์ที่เห็นมา� คนในอีสานทั้งชาติพันธุ์ไทยลาว� ไทยเขมร� ไทยกวย� ในอดีต� จะตั้งชื่อบ้านจากชื่อต้นไม้เด่น� ที่บ้านนั้นตั้งอยู่� หรือลักษณะภูมิประเทศสำคัญที่อยู่รอบ ๆ บ้านนั้น� เช่น� บ้านสงเปือย� บ้านสงยาง� บ้านยางลุ่ม� บ้านยางเทิง� เป็นต้น� คำว่า� โดมประดิษฐ์� น่าจะเกี่ยวข้องกับภูมิประเทศหรือต้นไม้ที่ขึ้นอยู่� ด้วยความสงสัย� จึงไปสังเกตผู้คนที่อยู่บริเวณนี้� ผู้คนดั้งเดิมที่อยู่บริเวณนี้มีเชื้อสายไทยเขมร� มาตั้งแต่ดั้งเดิม� คนไทยลาว� พึ่งจะอพยพมาอาศัยอยู่ไม่นานมานี้เอง� ต่อมาด้วยความเมตตาจากท่านผศ.สมชาย� นิลอาธิ� แห่งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม� ได้ส่งหนังสือการเดินทางของอาร์มอนิเยร์� ชาวฝรั่งเศส� ที่ได้เดินทางเข้ามาในแถบอีสานในราว พ.ศ.� ๒๔๓๙� และได้บันทึกชื่อหมู่บ้าน� ลักษณะภูมิประเทศ� และทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่เอาไว้� นายมักเลาะจึงได้พยายามแกะรอยการเดินทางของชาวฝรั่งเศสและเขมรขบวนนี้� มีช่วงหนึ่งที่ชาวต่างชาติขบวนนี้เดินทางจากจำปาสัก� มายังอำเภอบุณฑริก� วกลงทางใต้� เดินเลาะชายแดนไทยเขมร �ในแถบอำเภอน้ำยืนในปัจจุบัน� จากบันทึกได้รายงานไว้ว่า� ผ่านบ้านโดมประดิษฐ์� และเดินทางต่อไปยังอำเภอขุขันธ์� จังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน� จากบันทึกฉบับนี้� เขียนไว้ว่า� จากเมืองบัว� ชื่อเก่าของอำเภอบุณฑริก� ได้เดินทางลงใต้ไปสำรวจบ้านที่อยู่ใต้จากเมืองบัว� ได้บันทึกชื่อบ้านไว้บ้านหนึ่งว่า� บ้านดอมปลิท� (ดอม ปะ ลิท)� คำว่า� ดอมปลิท� สดุดความรู้สึกของนายมักเลาะทันที� พยายามแลกเปลี่ยนกับคนที่รู้จักภาษาเขมร� ให้แปลความหมายของดอมปลิท� มาหลายคนแล้ว� นายมักเลาะเลยสรุปเองว่า� ดอม� เป็นภาษาเขมร� ตรงกับคำไทยว่า� ต้นไม้� ปลิท� ภาษาเขมรว่า� บัว� สองคำรวมกัน� หมายถึง� สายบัว� ถ้าพิจารณาภูมิประเทศบริเวณนี้� จะมีลำน้ำ� ลำโดมน้อย� ไหลผ่านจากทิศเขาดงเร็ก� (ดงรักในภาษาไทยกลาง)� ไปทางทิศเหนือ� ไหลสู่แม่น้ำมูลบริเวณอำเภอสิรินธร� จังหวัดอุบลราชธานี� ภูมิประเทศตอนกลางจะเป็นที่ราบมีห้วย� หนอง� กระจายอยู่มากมาย� ในหนองเหล่านี้คงจะมีบัวสายขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก� ชาวพื้นเมือง� (ไทยเขมรดั้งเดิม)� จึงใช้คำว่า� ดอมปลิท� มาตั้งเป็นชื่อบ้าน� แต่พอเขียนเป็นภาษาไทยกลาง� แปรเปลี่ยนเป็นโดมประดิษฐ์ไป� หลักฐานที่สอดคล้องกันประการหนึ่งคือ� อำเภอบุณฑริก� ในช่วงนั้นเรียก� เมืองบัว� พอเขียนเป็นภาษาไทย� เพื่อให้เพราะพริ้ง� จึงตั้งชื่อว่า� บุณฑริก� แปลว่า� บัวสีน้ำเงินแทน� บุณฑริก� แต่ดั้งเดิมมีความเกี่ยวพันทางชาติพันธุ์กับจำปาสักที่มีชาติพันธุ์ไทยลาว� แตกต่างจากบ้านโดมประดิษฐ์� ที่มีชาติพันธุ์ไทยเขมรมากกว่า
����������������������� นี่เป็นข้อสันนิฐานของนายมักเลาะ� และจะรู้สึกยินดีมาก� ถ้าผู้รู้จริงวิพากษ์วิจารณ์��� เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่เกิดขึ้น
�
 Last updated: 2015-04-11 10:12:54
|
@ โดมประดิษฐ์ |
|
|
|
|
|
|
|
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ โดมประดิษฐ์
|