ริมฝั่งโขง (๑)
ลักษณะภูมินิเวศของแม่น้ำโขงแตกต่างจากแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงที่ตลิ่งของลำน้ำโขงสูงมาก ความแตกต่างของระดับน้ำในลำน้ำโขง ช่วงฤดูน้ำหลากและฤดูแล้ง แตกต่างกันหลายสิบเมตร
นายมักเลาะ� เขียนเรื่องเกี่ยวกับทรัพยากรและผู้คนที่ตั้งอยู่บนผืนดินของภาคอีสานมาหลายตอนแล้ว� ยังไม่ได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับแม่น้ำโขงและคนที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงเลย� ถึงแม้ว่า� จะแวะเวียนอยู่ระหว่างแผ่นดินอีสานกับลำน้ำโขงเป็นประจำ� ต้นปีนี้นายมักเลาะได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยือนแม่น้ำโขง� อย่างใกล้ชิดอีกครั้ง� ที่เคยมาเป็นแค่เพียงเดินไปริมโขง� แล้วมองไปยังฝั่งประเทศสปป.ลาว� แล้วก็ขึ้นรถกลับ� ครั้งนี้ได้มีโอกาสเดินลงไปในแม่น้ำโขงในช่วงของน้ำในลำน้ำลดลง� ของปลายฝนต้นหนาว� ลักษณะภูมินิเวศของแม่น้ำโขงแตกต่างจากแม่น้ำเจ้าพระยา� ตรงที่ตลิ่งของลำน้ำโขงสูงมาก� ความแตกต่างของระดับน้ำในลำน้ำโขง� ช่วงฤดูน้ำหลากและฤดูแล้ง� แตกต่างกันหลายสิบเมตร� จะต้องแหงนคอตั้งบ่า� หากลงไปถึงก้นแม่น้ำแล้วมองไปยังริมตลิ่งที่เดินลงมา� ต่างจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ระดับน้ำในลำน้ำกับตลิ่งไม่แตกต่างกันมากนัก�� ในพื้นที่ที่นายมักเลาะไปเยี่ยมชมเป็นพื้นที่� ที่แม่น้ำโขงมีเกาะแก่งมาก� บางแห่งยืนห่างจากพี่น้องสปป.ลาวจนตะโกนพูดกันได้� ลำน้ำโขงตอนนี้� ต่างจากลำน้ำโขงแถบจังหวัดนครพนม� ที่ตัวลำน้ำโขงกว้างจนมองแทบไม่เห็นตัวกัน�
��������������� ร่ายมาเสียยาว� ยังไม่ได้บอกว่าไปไหนมา� นายมักเลาะเดินทางไปยังดอนส้มโฮง� บ้านสำโรง� อำเภอโพธิ์ไทร� จังหวัดอุบลราชธานี� ดอนส้มโฮงอยู่ทางใต้ของสามพันโบก� ราว� ๕� กิโลเมตร� ปกติการไหลของแม่น้ำโขงด้านตะวันออก� สายน้ำจะไหลจากเหนือสู่ใต้� แต่บริเวณดอนส้มโฮง� ลำน้ำโขงจะไหลไปทิศตะวันออก� ยื่นเข้าไปในแผ่นดินของประเทศลาว� แล้วจึงอ้อมลงใต้� ถ้าไม่สังเกตอาจจะหลงทิศ� ปกติถ้าเราหันหน้าเข้าหาลำน้ำโขง� ทิศด้านหน้าจะเป็นทิศตะวันออก� แต่บริเวณนี้� ด้านหน้าของเราจะเป็นทิศเหนือ� เนื่องจากเป็นบริเวณที่แม่น้ำโขง ไหลตัดช่องเขาที่ขวางระหว่างประเทศไทยกับสปป.ลาว� เป็นช่องเพื่อระบายน้ำไหลลงสู่พื้นที่ด้านล่าง� สภาพของพื้นที่� มีลักษณะเป็นช่องเขาแคบแต่ลึก� บางแห่งลึกกว่า� ๑๐๐� เมตร� จากสภาพเดิมที่เป็นทิวเขาแต่ถูกแม่น้ำกัดเซาะมาเป็นเวลายาวนาน� จนทำให้ลักษณะภูมิประเทศลำน้ำโขงบริเวณนี้� มีเกาะแก่งขวางลำน้ำอยู่เป็นจำนวนมาก� ในฤดูน้ำหลากน้ำจะไหลท่วมจนไม่เห็นตัวเกาะ� แต่พอถึงฤดูแล้งน้ำในแม่น้ำโขงลด� จะเห็นแก่งหินทอดตัวไปตามแม่น้ำ� ยื่นลงไปในพื้นที่ที่เป็นลำน้ำยาวเป็นกิโลเมตร� เลยพูด กันเล่น ๆ ว่า� ฤดูน้ำหลากเกาะแห่งนี้เป็นของสปป.ลาว� ฤดูแล้งเป็นของไทย�ความยิ่งใหญ่ของพื้นที่ดอนส้มโฮง คงจะสู้สามพันโบกไม่ได้� แต่ความงดงามที่แปลกตาของแก่งหินที่ถูกกัดเซาะโดยสายน้ำตามธรรมชาติ� น่าชมอย่างยิ่ง� นายมักเลาะเคยมีโอกาสชมแก่งตะนะ� อำเภอโขงเจียม� จังหวัดอุบลราชธานี� แก่งหินธรรมชาติที่ขวางบริเวณลำน้ำมูล� ก่อนไหลลงแม่น้ำโขง� ราวปีพ.ศ.� ๒๕๒๕ –๒๕๒๖� เมื่อยังไม่มีการสร้างเขื่อนปากมูล� แก่งหินบริเวณดอนส้มโฮงคล้ายกับแก่งตะนะก่อนถูกระเบิดทิ้ง� เพื่อทำทางระบายน้ำ� รู้สึกเสียดาย� ว่าจะไม่มีโอกาสเห็นแก่งหินเล็ก ๆ แต่สวยงามอีก� พอมาพบกับดอนส้มโฮง� ทำให้ความรู้สึกประทับใจในแก่งตะนะในอดีต� กลับมาอีก� ดอนส้มโฮงอยู่ค่อนข้างห่างไกลจากพื้นที่อื่น� ต้องตั้งใจจึงจะเข้าไปถึง� สภาพพื้นที่ยังอุดมสมบูรณ์ไม่ถูกพัฒนาเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว� จนไม่เห็นเค้าสภาพดั้งเดิม� เหมือนพื้นที่ท่องเที่ยวหลาย ๆ แห่ง� นักนิยมธรรมชาติควรจะเข้าไปเยี่ยมชมก่อนที่ดอนส้มโฮงจะมีชื่อเสียง� คนไปชมกันมาก� จนทำลายสภาพธรรมชาติดั้งเดิมไปจนหมด
�
��������������� ขอแนะนำ� ตอนนี้พื้นที่นี้ยังเป็นของเราอยู่� ถ้ามีโอกาส� รีบไปดูก่อน� ไม่รู้อนาคตจะเป็นอย่างไร
�
�
 Last updated: 2015-02-07 13:48:06
|
@ ริมฝั่งโขง (๑) |
|
|
|
|
|
|
|
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ ริมฝั่งโขง (๑)
|