อาฮวน
กลิ่นของ อาฮวน จะมีกลิ่นรัญจวนใจ ทำให้ผู้คนในอดีตที่จะต้องเดินทางผ่านป่า ที่มีต้นอาฮวนขึ้นอยู่ มีความรู้สึกถึงคนรักที่อยู่ข้างหลัง ดังบทกวีที่คนโบราณได้แต่งกันไว้
|
ทุกส่ำไม้ดอกดวง |
ทังหลาย |
|
บานจีจูมฮ่วงโฮย |
หอมเอ้า |
|
มีทัง อาฮวน สร้อย |
สุรภี พวงเภท |
|
มีทังดอกเกดแก้ว |
มีทังดอกเกดแก้ว |
|
|
|
|
|
ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง
มหากาพย์ แห่งอุษาคเณย์ |
บทกวีที่ลือเลื่อง ของผู้คนที่ตั้งถิ่นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย บรรพบุรุษของไทยในปัจจุบัน บทกวีของบรรพบุรุษในอดีต บรรยายความรู้สึก ในเวลาเดินทางไกลผ่านป่าเขาลำเนาไพร ไปต่างบ้านต่างเมือง ในบทกวีกล่าวถึงต้น ไม้ชนิดหนึ่ง ที่ขึ้นอยู่ในป่าเรียกกันว่า ต้นอาฮวน บ้านหลายแห่งในภาคอีสานก็ยังเอาชื่อของ ต้นอาฮวน มาตั้งเป็นชื่อบ้าน เช่น บ้านอาฮวน บ้านคำอาฮวน ในฐานะที่มีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับต้นไม้ นายมักเลาะจึงได้พยายามหาข้อมูลที่เกี่ยวกับคำว่า อาฮวน ในหนังสือชื่อของต้นไม้แห่งประเทศไทย ของท่านอาจารย์เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เมื่อปี พ.ศ. 2544 จัดพิมพ์โดยส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ ไม่พบต้นไม้ที่มีชื่อว่า อาฮวน จนนายมักเลาะ จนด้วยเกล้า ว่าต้นอาฮวนในภาษาถิ่นคือต้นอะไรในภาษากลาง แต่ในที่สุด ต้นอาฮวน ก็กระจ่าง เมื่อคุณรุจน์ เมฆทอง หัวหน้าสวนรุกขชาติน้ำตกสำโรงเกียรติ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ พานายมักเลาะไปสำรวจ ต้นอาฮวน บนเทือกเขาพนมดงรัก หรือดงเร็ก ติดกับชายแดนประเทศกัมพูชา ในช่วงเดือนกันยายน ต้นอาฮวน ก็คือ ต้นสารภีป่า ที่มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามพื้นที่ต่างๆ เช่น สารภีดอย ส้านแดง ส้านแดงใหญ่ สารภีหมู สุน ฮัก คำโซ่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anneslea fragrans Wall เป็นต้นไม้ที่อยู่ในวงศ์ THEACEAE นายมักเลาะเข้าไปสำรวจในช่วงปลายฝน ต้นอาฮวน กำลังแตกตาดอก อาฮวนจะออกดอกมีกลิ่นหอมในช่วงต้นฤดูหนาว ถ้าใครสนใจในวิชา Aromatherapy คือการใช้กลิ่นหอมเพื่อการรักษาโรคแล้ว กลิ่นของ อาฮวน จะมีกลิ่นรัญจวนใจ ทำให้ผู้คนในอดีตที่จะต้องเดินทางผ่านป่า ที่มีต้นอาฮวนขึ้นอยู่ มีความรู้สึกถึงคนรักที่อยู่ข้างหลัง ดังบทกวีที่คนโบราณได้แต่งกันไว้ในวรรณคดีอีสานหลักๆหลายเรื่อง เคยมีความพยายามที่จะเอาต้นอาฮวนจากป่ามาปลูกในพื้นที่เมือง แต่มักจะไม่ประสบผลสำเร็จ นายมักเลาะสังเกตพื้นที่ที่ต้นอาฮวนขึ้นอยู่สภาพพื้นที่จะเป็นทรายชุ่มน้ำในช่วงฤดูฝน บริเวณโคนต้นแม่จะมี ต้นอาฮวนเล็กแตกหน่อ ขึ้นมาจากรากต้นแม่กระจายอยู่รอบๆต้น จากการสังเกตสภาพแวดล้อมรอบต้นอาฮวนขึ้นอยู่ นอกจากมีต้นอาฮวนขึ้นอยู่เป็นกลุ่มแล้ว บริเวณดังกล่าว ยังมีต้นสนสองใบ กันเกรา ต้นเม็กขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ นายมักเลาะสรุปเองได้เลย ไม้อาฮวนเป็นพืชเฉพาะถิ่น (Endemic Species) ขึ้นในบางพื้นที่ของป่าเท่านั้น ไม่กระจายทั่วไปเหมือนไม้กราด พะยอม พยุง แดง ประดู่ ที่พบเห็นอยู่ทั่วไปทั้งบนพื้นที่ภูเขาและที่ราบ พื้นที่พบไม้อาฮวนปัจจุบันอยู่ในพื้นที่เป็นเนินเขา ที่อยู่รับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ถือว่าโชคดีที่ พื้นที่ได้รับความดูแลเป็นอย่างดี ไม่เช่นนั้นเราอาจจะเห็นต้นอาฮวนไม้ที่วรรณคดีอีสานโบราณกล่าวถึงเสมอ เหลืออยู่ในบริเวณร้านกาแฟอเมซอนเหมือนต้นเม็กหรือต้นกระโดนน้ำ เป็นแน่แท้
Last updated: 2014-10-17 21:53:08
|
@ อาฮวน |
|
|
|
|
|
|
|
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ อาฮวน
|