คิดดี พูดดี ทำดี สิ่งที่ดี ๆ จะเกิดขึ้นแก่เรา
 
     
 
Cop 19 (2)
อีกไม่นานน่าจะมีปรากฏการณ์แม่คะนิ้ง  ที่ไม่ต้องขึ้นไปถึงดอยสูง  แต่อยู่ในภาคอีสานคงจะเห็นน้ำค้างแข็งเกิดขึ้น เป็นเรื่องที่จะต้องติดตามกันต่อไป
 

ตอนที่แล้วได้กล่าวถึงแต่  เรื่องจะไม่ค่อยจะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับมวลมนุษยชาติ  บทนี้  จะกล่าวถึงเรื่องดีๆ บ้าง เป็นที่น่าภูมิใจสำหรับประเทศไทยที่ถูกจัดอันดับว่า  เป็นประเทศที่มีอัตราการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ในระดับต่ำ  ขณะที่ประเทศรอบข้างของเรา  ถูกจัดให้เป็นประเทศที่มีอัตราการทำลายป่าสูงมาก  จนน่ากลัว  เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง  ออสเตรเลีย  บราซิล  ที่มีอัตราที่ที่ป่าถูกทำลายสูงมากเป็นลำดับต้นๆ  เรื่องดี  อีกประการได้แก่ประเทศต่างๆ ในยุโรป  มีความสนใจในการแก้ไขปัญหาโลกร้อนอย่างมุ่งมั่น  ประกาศว่าจะลดการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลในการผลิตไฟฟ้าลง  พัฒนาหาพลังงานอื่นที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า  ในขณะที่บ้านเราผลิตก๊าซ  CO2   เข้าสู่บรรยากาศโลกสูงติดอันดับ  1  ใน  5  ของทวีปเอเชีย   มีการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล  เพิ่มขึ้นตามความต้องการที่สูงขึ้นของคนไทย  บ้านเรายังมีทรัพยากรป่าไม้มาก  ปริมาณ  CO2  ที่ป่าไม้ของเราดูดไปใช้สร้างเป็นเนื้อไม้ยังสูงกว่าปริมาณ  CO2   ที่คนไทยทุกคนช่วยกันปลดปล่อยออกมา  แต่ไม่ใช่เรื่องดีมากนัก  ถ้าพวกเรายังใช้พลังงานกันอยู่อย่างนี้  ไม่ปรับวิธีคิดหรือการดำรงชีวิต  อีกไม่นานไทยน่าจะเป็นประเทศที่ถูกองค์กรระหว่างประเทศชี้ว่า  เป็นประเทศที่ก่อให้เกิดโลกร้อน  เช่นเดียวกับประเทศที่พัฒนาแล้ว  ถูกสังคมโลกถามเอา  ดังเช่นตัวแทนในอเมริกาใต้ถามในที่ประชุมว่า  “มันเป็นเรื่องไม่ถูกต้องเลยที่ประเทศกำลังพัฒนาต้องพลอยได้รับเคราะห์จากภัยธรรมชาติอันรุนแรง  ที่เกิดจากปรากฏการณ์โลกร้อน” ขอยกเป็นภาษาอังกฤษ  เพื่อให้เห็นภาพจากคำว่า  Not fair for the developing country to suffer from the Climate Change.

คงจะมีหลายคน  ถามว่าถ้าโลกร้อนขึ้น  แล้วจะเกิดผลเสียต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไร  โลกมันร้อนขึ้นจริงหรือ  เนื่องจากมีข้อมูลหลายแหล่ง  บอกว่าโลกไม่ได้ร้อนขึ้นแต่อย่างใด  นายมักเลาะ  คงจะไม่ตอบตามที่มีข้อมูลได้รับทราบมาแล้ว  ขอให้ทุกคนสังเกตดูปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ  ที่พบเห็นอยู่จริงๆ  ในชีวิตของพวกเราเองนักวิทยาศาสตร์หลายประเทศ  บอกว่าปริมาณน้ำแข็งที่ลดลงที่เกิดจากโลกร้อนจะเกิดขึ้นบริเวณด้านทิศเหนือของเส้นศูนย์สูตร (ขั้วโลกเหนือ)  มากกว่าขั้วโลกใต้  ปริมาณการเกิดพายุในรอบปี  จำนวนพายุหมุน Typhoon , Cyclone หรือ Tornado ไม่ได้มากขึ้น  แต่ความรุนแรง  จะมากขึ้นตามปริมาณของความชื้นในอากาศที่สูงขึ้นจากการเกิดปรากฏการณ์โลกร้อน  ขณะนี้  เราจะได้ยินคำว่า  Super Typhoon  ถ้าปล่อยไปเรื่อยๆ  คำว่า Super Typhoon  คงจะชินหูของพวกเราในที่สุด  ถ้าปริมาณ CO2  ในอากาศ  เพิ่มขึ้นเช่นนี้  ขณะที่นายมักเลาะกำลังเขียนบทความนี้อยู่ในช่วงกลางเดือนธันวาคม  ซึ่งเป็นช่วงกลางของฤดูหนาวของอีสาน  ปรากฎว่า  ฝนได้ตกมา  2 วัน 1  คืนแล้ว  ดูแล้วว่าคงจะตกต่อเนื่องไปอีก  พร้อมทั้งอุณหภูมิของอากาศลดลงอย่างรวดเร็ว  สิ่งที่ปรากฏอยู่ดูน่าจะเป็นไปตามที่นักวิทยาศาสตร์เขาได้ประเมินไว้  ถ้าเป็นจริง  อีกไม่นานน่าจะมีปรากฏการณ์แม่คะนิ้ง  ที่ไม่ต้องขึ้นไปถึงดอยสูง  แต่อยู่ในภาคอีสานคงจะเห็นน้ำค้างแข็งเกิดขึ้น เป็นเรื่องที่จะต้องติดตามกัน  ต่อไป

สำหรับเมืองไทยของเรา  นักวิทยาศาสตร์ทำนายว่า  จะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มมากขึ้น  อุณหภูมิจะสูงขึ้นในปี พ.ศ. 2050 (ค.ศ. 2593)  นายมักเลาะไม่ได้อยู่ชมแล้ว  ปริมาณน้ำทะเลน่าจะสูงขึ้นอย่างน้อย  40  เซนติเมตร จากระดับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  ไม่รู้ว่าทางกรุงเทพมหานคร  จะแก้ไขกันอย่างไร  แต่คงมีทางแก้ไขมนุษย์ไม่ยอมแพ้ธรรมชาติอยู่แล้ว  แต่คนไทยควรจะต้องเตรียมตัวรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นไว้ก่อน  ไม่ใช่เกิดขึ้นแล้วจึงจะแก้ไขทีหลัง  นายมักเลาะขอเป็นนักพยากรณ์บ้างว่า ภาคอีสานที่นายมักเลาะอยู่นี้ จะขยับฐานะเป็นเมืองสำคัญของประเทศไทยในอนาคตแทนเมืองหลักในภาคกลาง  เราน่าจะได้เห็นเมืองที่ทันสมัยเกิดขึ้นบริเวณริมแม่น้ำโขง  ตั้งแต่จังหวัดหนองคายไปจนสุดแดนอุบลราชธานี  รวมทั้งมลภาวะที่จะตามมาในลักษณะเช่นเดียวกับกรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน



Last updated: 2014-01-11 09:31:44


@ Cop 19 (2)
 


 
     
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ Cop 19 (2)
 
     
     
   
     
Untitled Document
 



LFG
www.lookforest.com|บทความ|โปรแกรมคาร์บอนต้นไม้|ฐานข้อมูลชีวภาพ|เครือข่ายฟาร์มป่าไม้|ติดต่อบรรณาธิการ
Powered by: LOOK FOREST GROUP
23/1 ซอยรัชดาภิเษก 64 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กทม.
Clicks: 
920

Your IP-Address: 3.15.141.155/ Users: 
919