น้ำจั้น
น้ำจั้น จะไหลออกมาจากบริเวณพื้นดินที่มีดินเหนียวเป็นองค์ประกอบหลัก ค่อย ๆ ซึมผ่าน คล้าย ๆ กับน้ำซับในพื้นที่ป่าบกทั่ว ๆ ไป
น้ำจั้น เป็นคำที่ใช้อธิบายลักษณะของน้ำไหลออกมาจากใต้ดิน บริเวณขอบตลิ่งของลำห้วยในภาคอีสาน ภาคกลางเรียกว่า น้ำซับมีคำกล่าวไว้ว่า ป่าทามเป็นแหล่งต้นน้ำ ที่ปลดปล่อยน้ำออกมาหล่อเลี้ยงลำห้วยลำธาร ให้มีน้ำไหลได้ตลอดปี จากคำบอกเล่าของ พ่ออาจแห่งบ้านม่วง อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร เดิมพื้นที่ป่าทามลำเซบายตอนกลางมีไฟไหม้ทุกปี จนป่าทามด้านบนอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม น้ำจั้นที่เคยไหลรินอยู่ตลอดปี ได้หายไป แต่เมื่อชุมชนร่วมกันรักษาป่าทามด้านบนไว้ ชาวบ้านไปหาปลาในลำเซบายช่วงฤดูแล้ง สามารถหากินน้ำจั้นในป่าได้ มีคำอีสานอีกคำที่อธิบายน้ำซับในป่าทาม คือคำว่า น้ำบุ้น ถ้าอธิบายในเชิงวิทยาศาสตร์ น้ำจั่นและน้ำบุ้น คือ น้ำซับที่ไหลมาจากพื้นที่ที่มีป่าทามอุดมสมบูรณ์ กักเก็บน้ำที่หลากมาในช่วงฤดูน้ำหลาก และค่อย ๆ ปลดปล่อยน้ำที่เก็บไว้ออกมาจนกลายเป็นแหล่งน้ำซับ ให้ชุมชนใช้ได้ตลอดปี แต่ต่างกันตรง ลักษณะของพื้นดินที่น้ำซับนั้นไหลออกมา
น้ำจั้น จะไหลออกมาจากบริเวณพื้นดินที่มีดินเหนียวเป็นองค์ประกอบหลัก ค่อย ๆ ซึมผ่าน คล้าย ๆ กับน้ำซับในพื้นที่ป่าบกทั่ว ๆ ไป
น้ำบุ้น เป็นน้ำซับที่น้ำไหลออกจากพื้นดินป่าทาม ที่มีตะกอนของทรายสะสมอยู่มาก เมื่อน้ำไหลออกมา จะทำให้ตะกอนทรายและโคลนเกิดการกระเพื่อมตัว มองคล้ายกับน้ำเดือดเมื่อเราต้มน้ำ
คนอีสานเป็นคนที่มองธรรมชาติด้วยความละเอียดอ่อน มีการใช้ภาษาที่อธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างมากมายและหลากหลาย
Last updated: 2013-04-15 21:04:53
|
@ น้ำจั้น |
|
|
|
|
|
|
|
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ น้ำจั้น
|