เรียนรู้จากความผิดพลาดของคนอื่นจะได้ไม่ต้องเรียนรู้จากความผิดพลาดของตนเอง
 
     
 
หูลิง
ต้นหัวลิง เป็นไม้ที่แยกเป็นต้นตัวผู้ และตัวเมีย ถือว่าเป็นไม้ เบิกนำ (pioneer species) ชนิดสำคัญของป่าทาม
 


หูลิง เป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งในป่าทาม ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hymenocardiawallichii.Tul.ภาคกลาง เรียกไม้หูลิงว่า แฟบน้ำ ตั้งชื่อจากลักษณะของผล หูลิง ที่มีลักษณะแบน เพื่อการแพร่พันธุ์ โดยอาศัยน้ำ ผลของไม้หัวลิงจะแก่และหลุดลอยไปตามน้ำในช่วงน้ำหลาก


ต้นหัวลิง เป็นไม้ที่แยกเป็นต้นตัวผู้ และตัวเมีย ถือว่าเป็นไม้ เบิกนำ (pioneer species) ชนิดสำคัญของป่าทาม ดอกจะแก่ในช่วงฤดูร้อน  อับเกสรตัวผู้จะแตกเมื่อได้รับความร้อนจากแสงแดด ถ้าเข้าไปในป่าหูลิงช่วงฤดูร้อนจะสังเกตปรากฏการณ์ของอัปเกสรแตกช่วงก่อนเที่ยงวัน เกสรตัวผู้ของ ต้นหัวลิงจะกระจายล่องลอยไปในอากาศ  เพื่อรอการเข้าไปผสมกับเกสรตัวเมียของต้นอื่นได้อย่างชัดเจน

อำเภอวานรนิวาส อำเภอหนึ่งของจังหวัดสกลนคร มีชื่อเดิมว่า กุดลิง ตามความหมายของคนอีสาน กุดลิง  หมายถึง หนองน้ำที่มีต้นหัวลิงขึ้นอยู่ คาดว่าคนตั้งชื่อ บ้านกุดลิง เป็นอำเภอวานรนิวาส ไม่ใช่คนพื้นที่ถิ่นอีสาน คงจะเข้าใจความหมายของ กุด ว่าเป็น กุฎ ตามภาษาภาคกลาง ซึ่งหมายถึงที่อยู่ของพระ เลยใช้คำว่า นิวาสแทนกุด ผสมกับคำว่า วานรที่แปลว่า ลิง รวมกันเป็น วานรนิวาส ที่อยู่ของลิง ต่างจากความหมายเดิมของคนอีสาน จนมองไม่เห็นเค้าเดิม



Last updated: 2012-12-10 10:12:22


@ หูลิง
 


 
     
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ หูลิง
 
     
     
   
     
Untitled Document
 



LFG
www.lookforest.com|บทความ|โปรแกรมคาร์บอนต้นไม้|ฐานข้อมูลชีวภาพ|เครือข่ายฟาร์มป่าไม้|ติดต่อบรรณาธิการ
Powered by: LOOK FOREST GROUP
23/1 ซอยรัชดาภิเษก 64 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กทม.
Clicks: 
8,546

Your IP-Address: 3.15.186.56/ Users: 
8,544