หมอยพ่อค้า
ต้นไม้ที่พบทั่วไปในป่าบก ไม่มีรากเพื่อช่วยการหายใจ แต่เมื่อไปขึ้นในป่าทามพบว่าไม้จากป่าบกมีการพัฒนารากเพื่อใช้ในการหายใจในช่วงน้ำท่วม รากหายใจที่พบ ชาวบ้านท้องถิ่น เรียกว่า หมอยพ่อค้า
ภูมินิเวศของป่าทาม ที่เรียกว่า ป่าชายเฟือย (River bank rim forest) ถูกน้ำท่วมเป็นเวลานานกว่าพื้นที่ป่าทามบริเวณอื่น ตั้งแต่น้ำเริ่มหลากในช่วงต้นฤดูฝน จนกระทั่งน้ำที่บ่ามาไหลลงสู่แม่น้ำโขง ในช่วงของต้นฤดูหนาว ต้นไม้ในพื้นที่ป่าทามบริเวณนี้ มีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่มีน้ำท่วม
ต้นไม้ในป่าชายเฟือยหลายชนิดจะมีการสร้างรากอากาศเพื่อช่วยการหายใจ (Pneumatophore) ต้นไม้ที่พบทั่วไปในป่าบก ไม่มีรากเพื่อช่วยการหายใจ แต่เมื่อไปขึ้นในป่าทามพบว่าไม้จากป่าบกมีการพัฒนารากเพื่อใช้ในการหายใจในช่วงน้ำท่วม รากหายใจที่พบ ชาวบ้านท้องถิ่น เรียกว่า หมอยพ่อค้า จากการสำรวจมีต้นไม้ที่พัฒนารากหายใจ ในป่าทามลำเซบายตอนกลางเขต อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ช่วงฤดูน้ำท่วม 7 ชนิด ได้แก่ เสียวป่า (Phyllanthus polyphyllus.Willd.)ฝ้ายน้ำ (Croton caudatus.Geiseler) มะกอกน้ำ (Elaeocarpushy grophilus.Roxb) กระพี้ (Dalbergia entadioides Pierre ex Prain)ลิงง้อ (Lagerstroemia balansae.Koehne)และเครือตาปลา (Dorris scndens(Roxb.)Benth.และมะดันน้ำ (Garcinia schomburgkiana. Pierce)
รากหายใจของต้นไม้ในป่าชายเฟือย เป็นแหล่งที่ปลาในแม่น้ำมาวางไข่ ช่วยป้องกันตัวอ่อนของสัตว์น้ำในช่วงน้ำท่วม ภาษาอีสานรากอากาศ ของต้นไม้ทุกชนิดในป่าทาม ชาวบ้านอีสานจะเรียกรวมว่า หมอยพ่อค้า
Last updated: 2012-11-29 08:11:23
|
@ หมอยพ่อค้า |
|
|
|
|
|
|
|
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ หมอยพ่อค้า
|