กุด
คนอีสานใช้คำว่า กุด อธิบายลักษณะหนองน้ำที่มีลักษณะยาวแต่ หัว – ท้าย กุดด้วนไม่ต่อกัน
ตามสารานุกรมภาษา ไทย – อีสาน – อังกฤษ� ของ ดร.ปรีชา พิณทอง ได้ให้ความหมายของกุดไว้ว่า กุด หมายถึง หนองน้ำที่กว้างและยาว ต่อมาตื้นเขินขาดเป็นช่วง ๆ ห้วงที่ขาดน้ำนี่แหละเรียกว่ากุด เช่น กุดตอ กุดโดน กุดจับ และกุดปลาขาว
� ในทางวิทยาศาสตร์ กุด หมายถึง ร่องรอยของแม่น้ำที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเส้นทางเดิน ไปเป็นแนวแม่น้ำใหม่ เมื่อเวลาผ่านไป แม่น้ำสายเดิม ตื้นเขิน กลายเป็นหนองน้ำที่มีลักษณะยาว คดโค้ง ไปตามลักษณะของสายน้ำเดิม ช่วงแรกจะเชื่อมต่อกับลำน้ำสายใหม่ เมื่อเวลาผ่านไป ตะกอนที่มากับสายน้ำทับถมทุกปี จนปิดกั้นหัวและท้ายของแม่น้ำสายเก่า กลายเป็นหนองน้ำ ไม่เชื่อมต่อกับลำน้ำหลัก คนอีสาน เรียกหนองน้ำที่เกิดในลักษณะนี้ว่า กุด ปรากฏการณ์การเกิด กุด เป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรของแม่น้ำ พบเห็นกุดอยู่ทั่วไป บริเวณที่ราบลุ่มที่มีความลาดชันน้อย ของลำน้ำสายหลักและลำน้ำสาขาในภาคอีสาน ศัพท์ทางธรณีวิทยา (Geology) เรียกกุดว่า ทะเลสาบ รูปแอก (Oxbow – lakes) กุดเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศย่อยในป่าทาม
�
คนอีสานใช้คำว่า กุด อธิบายลักษณะหนองน้ำที่มีลักษณะยาวแต่ หัว – ท้าย กุดด้วนไม่ต่อกัน
 Last updated: 2012-11-11 21:32:30
|
@ กุด |
|
|
|
|
|
|
|
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ กุด
|