ป่าบุ่ง
บุ่งเป็นคำที่คนอีสานเรียก หนองน้ำที่อยู่ในพื้นที่ป่าทาม
บุ่ง �หมายถึง �หนองน้ำที่อยู่ในพื้นที่ป่าทาม �บุ่งเกิดจากอิทธิพลการไหลของน้ำในช่วงฤดูน้ำหลากที่เอ่อล้นเข้าไปสู่พื้นที่ราบทั้งสองฝั่งของลำน้ำสายหลักในภาคอีสาน �บุ่งบางแห่งจะมีน้ำทั้งปี �บางแห่งจะแห้งในช่วงฤดูแล้ง บุ่งหรือหนองน้ำ �มีทั้งพบอยู่เดี่ยวๆ ห่างจากลำน้ำสายหลักหรือมีทางน้ำเชื่อมระหว่างบุ่งกับลำน้ำสายหลัก�
บริเวณรอบๆ �บุ่งจะมีพืชพรรณไม้จากป่าทามขึ้นอยู่โดยรอบ �เช่น �ไม้หูลิง �ฝ้ายน้ำ �เบ็นน้ำ �น้าวน้ำ �กระโดนน้ำ �บริเวณในบุ่งจะมีพืชน้ำ �ทั้งลอยน้ำและจมน้ำอยู่เป็นจำนวนมาก �เช่น �กก �ผือ �บัวสาย �สาหร่าย �เป็นที่อาศัยของปลาที่ว่ายจากลำน้ำสายหลัก �เข้ามาอาศัยหลบภัยหรือหาอาหารในช่วงฤดูแล้ง �หรือเป็นที่อาศัยของปลาที่มากับสายน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก �แล้ว �ค้างอยู่ในบุ่ง �ไม่สามารถว่ายกลับไปยังแม่น้ำสายหลักได้ �เมื่อน้ำลด
คำว่า �ป่าบุ่งป่าทาม �เป็นคำที่คนภาคอื่นเรียกพื้นที่ �ป่าทาม �ที่มีอยู่ในภาคอีสาน �สำหรับพื้นที่ป่าริมน้ำของแม่น้ำสายหลัก �คนอีสาน �เรียกว่า �ป่าทาม �ไม่ได้เรียก �ป่าบุ่งป่าทาม �บุ่งเป็นคำที่คนอีสานเรียก �หนองน้ำที่อยู่ในพื้นที่ป่าทาม
 Last updated: 2012-10-13 09:21:25
|
@ ป่าบุ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ ป่าบุ่ง
|