ไม้คะลำ
คะลำ หมายถึง สิ่งใดที่ทำลงไป ผิดจารีตประเพณี ผิดระเบียบ สังคมรังเกียจ ดังคำที่ว่า ของมันผิดอย่าได้ทำ ของคะลำอย่าได้ไปต้อง
“อย่าไปตัดไม้โกน มาเฮ็ดเสาเฮือนเด้อ.. มันสิพัง เพ ฮ้าง เฮือนซานบ่ฮ่มเย็น”
คำกล่าวนี้ เป็นคำผญาของผู้เฒ่าผู้แก่ในภาคอีสานสอนลูกหลาน ที่ไปตัดไม้ในป่าเพื่อนำมาสร้างบ้านเรือน ไม้คะลำหรือไม้ที่คนโบราณห้ามนำมาใช้ประโยชน์ มีมากมายหลายประเภท ทั้งลักษณะของต้นไม้ ชนิดของไม้ ลักษณะการล้มลงของไม้ โดยมีเหตุผลทั้งด้านความเชื่อ และความเป็นจริงที่อธิบายได้ในเชิงวิทยาศาสตร์ ในด้านการใช้ประโยชน์ของผู้ตัด หรือเหตุผลด้านนิเวศวิทยา ป่าในอีสานที่เหลืออยู่ผ่านการใช้ประโยชน์มาอย่างหนัก ทั้งจากการทำสัมปทานของระบบการจัดการป่าในอดีต รวมทั้งจากการที่ผู้คนอาศัยอยู่รอบเขตป่า ตัดออกมาใช้ประโยชน์สร้างบ้านเรือน ทำให้ปัจจุบันสามารถเห็นไม้คะลำได้มากมาย ถ้าเราเดินเข้าไปใน� ป่าที่ชุมชนได้รักษาเอาไว้จะพบ ไม้คะลำมากกว่าไม้ที่มีลักษณะที่ดีที่เหมาะจะนำไปใช้ประโยชน์ ไม้คะลำเหล่านี้ คือ แหล่งของแม่พันธุ์ที่จะขยายพันธุ์ แผ่ลูก แผ่หลาน สร้างความสมดุลให้แก่ธรรมชาติต่อไป
�
�คะลำ เป็นภาษาพื้นเมืองที่คนอีสานพื้นบ้านเข้าใจ และให้ความสำคัญต่อคำนี้ ตามพจนานุกรมอีสานของ ดร.ปรีชา พิณทอง ได้ให้ความหมายไว้ว่า คะลำ หมายถึง สิ่งใดที่ทำลงไป ผิดจารีตประเพณี ผิดระเบียบ สังคมรังเกียจ ดังคำที่ว่า ของมันผิดอย่าได้ทำ� ของคะลำอย่าได้ไปต้อง
ไม้คะลำสามารถจำแนกออกเป็น 3 ประเภท ประเภทแรก เป็นไม้คะลำตามชื่อของไม้ หมายถึง แม้ต้นไม้จะมีลักษณะดีมีความเหมาะสมที่นำมาใช้ประโยชน์ แต่มีชื่อที่เป็นคะลำถ้าไม่จำเป็นจะไม่มีใครนำมาใช้ประโยชน์ ประเภทที่สอง ไม้คะลำตามลักษณะภายนอกของไม้ที่ปรากฏให้เห็น หรือตามลักษณะภูมิประเทศที่ขึ้นอยู่ ประเภทที่สาม ตามลักษณะการล้ม เมื่อไม้ต้นนั้นถูกตัดแล้วมีปรากฏการณ์บางอย่างเกิดขึ้น ในขณะไม้ที่ล้มลงแสดงให้เห็นว่าไม้ที่ล้มลงเป็นไม้คะลำ
ชื่อไม้ที่ถือว่าเป็นคะลำคนโบราณจะไม่นำมาใช้ประโยชน์
จะมีไม้อะไรโปรดติดตามตอนต่อไป
 Last updated: 2012-09-19 09:08:11
|
@ ไม้คะลำ |
|
|
|
|
|
|
|
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ ไม้คะลำ
|