ไม้พะยูง (1)
ไม้พะยูง เป็นไม้ที่มีถิ่นอาศัยในป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ มีความทนทานต่อสภาวะแวดล้อมที่รุนแรง หน่อใหม่จะแตกขึ้นทันที จากตอต้นเดิมเดิมที่ถูกตัดลง
พวกเรา คงจะได้รับข้อมูลข่าวสาร เรื่องไม้พะยูงกันมากมาย ในหนึ่งสัปดาห์จะมีข่าวเรื่องไม้พะยูงอย่างน้อยหนึ่งเรื่อง ข่าวที่ปรากฏตามสื่อต่างๆทั้งหมด เป็นข่าวการจับกุมผู้ลักลอบตัดไม้พะยูง ทั้งในป่าอนุรักษ์ ป่าชุมชน
ไม้พะยูงขึ้นอยู่ในพื้นที่ของชาวบ้านหรือแม้กระทั่งการเข้าไปตัดไม้พะยูงในวัด
ในฐานะที่ชอบเดินทาง ถ้าจะถามว่า
ต้นไม้พะยูงขนาดใหญ่ๆ
อยู่ในบริเวณไหนของภาคอีสานมากที่สุด
ขอตอบว่า ไม้พะยูงขนาดใหญ่ลำต้นสวยงามจะอยู่ในพื้นที่ราบ แต่ไม่ขอบอกว่าที่ไหนบ้าง เพราะอะไรจึงอยู่ในพื้นที่ราบ ตอบง่ายๆ พื้นที่ราบดินลึกและอุดมสมบูรณ์ เหมาะกับการเจริญเติบโตของต้นไม้ บริเวณพื้นที่ป่าอนุรักษ์มักจะเป็นภูเขาหินเป็นส่วนใหญ่ ดินตื้น
ต้นพะยูงที่ขึ้นมีขนาดไม่ใหญ่นัก ไม่ต้องบรรยายมากนัก เพราะจะไม่มีประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ไม้พะยูง คำถามอีกคำถาม
ไม้พะยูงจะหมดไปจากประเทศไทยหรือไม่
คำตอบคือ คงจะไม่ ถ้าพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของประเทศไทย ได้รับการปกป้องให้เป็นพื้นที่แพร่พันธุ์ของไม้พะยูงรุ่นใหม่
ไม้พะยูง
เป็นไม้ที่มีถิ่นอาศัยในป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ มีความทนทานต่อสภาวะแวดล้อมที่รุนแรง หน่อใหม่จะแตกขึ้นทันที จากตอต้นเดิมเดิมที่ถูกตัดลง ประสิทธิภาพในการแตกหน่อของไม้พะยูงที่ถูกตัดลง สูงมาก
เมื่อต้นพะยูงถูกตัด จะมีหน่อใหม่เจริญเติบโตขึ้นรอบๆตอที่ถูกตัด รวมทั้งแตกหน่อใหม่จากรากของต้นที่ถูกตัด ถ้าเราสังเกตรอบๆตอพะยูงที่ถูกตัด ต้นไม้พะยูงเกิดใหม่จากรากของต้นเดิมกระจายอยู่รอบๆตอ ต้นที่เกิดจากตอต่างจากลูกไม้พะยูงที่เกิดจากเมล็ด สังเกตได้ง่ายๆคือ ขนาดของลำต้นที่แตกใหม่จากรากจะมีขนาดใหญ่แข็งแรง เจริญเติบโตทางความสูงเป็นไปอย่างรวดเร็ว ถามต่อว่า หน่อที่แตกขึ้นใหม่
จะมีโอกาสเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ได้มากน้อยเพียงไหน จากการสังเกตของนายมักเลาะ
ลูกไม้พะยูงที่เกิดในป่าเต็งรังหรือป่าเบญจพรรณ มีโอกาสรอดตายสูง แต่ตอไม้พะยูงในป่าดิบแล้ง มีโอกาสตายสูงมาก เนื่องจาก
พอถึงฤดูฝน ฝนตกชุก
ตอไม้พะยูงในป่าดิบแล้งจะมีเชื้อราเข้าทำลายทันที และจะค่อยๆ ย่อยสลายตอ จนในที่สุดก็เน่าผุพังอยู่บริเวณนั้นนั่นเอง
การเจริญเติบโตของหน่อใหม่ของไม้พะยูง จะมีโอกาสรอดตายเพียงไหน การเข้าไปเดินป่าบ่อยๆพบกลุ่มไม้พะยูงที่เกิดขึ้นจากตอเดิมขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม ลูกไม้พะยูงที่เกิดจากราก มีโอกาสรอดตายและเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่อยู่เป็นจำนวนมาก สำหรับหน่อที่แตกจากตอเดิมส่วนใหญ่จะตาย จะเหลือต้นใหม่ที่ติดกับตอเดิมเพียงหนึ่งหรือสองต้นเท่านั้นเนื่องจากเมื่อต้นมีขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมากขึ้นจะทำให้เกิดการฉีกขาดบริเวณรอยต่อลำต้นใหม่กับตอเดิมที่อยู่ตามธรรมชาติ
นี่คือสิ่งที่ นายมักเลาะพบเห็นมา
Last updated: 2017-12-07 12:35:49
|
@ ไม้พะยูง (1) |
|
|
|
|
|
|
|
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ ไม้พะยูง (1)
|