ริมฝั่งโขง (๒)
เราคงจะรักแม่น้ำโขงมากขึ้นอีก ช่วยกันรักษาทรัพยากรในแม่น้ำโขงนี้ไว้ เพื่อลูกหลานของเรา
� �������������� ตอนที่แล้ว� ได้เขียนถึงสภาพภูมิประเทศของริมฝั่งโขง� บริเวณด้านทิศตะวันออกของจังหวัดอุบลราชธานี� ที่เรียกกันว่า� ดอนส้มโฮง� ดอน� ในภาษาพื้นถิ่น� หมายถึง� พื้นที่โนนสูงกลางลำน้ำ� ในฤดูน้ำหลากอาจจะมีน้ำท่วมถึงก็ได้� ไม่ถึงก็ได้� แต่ในฤดูแล้ง� น้ำลดลงแล้ว� ลักษณะภูมิประเทศ� ที่เรียกว่า� ดอน� จะสูงกว่าบริเวณอื่นในลำน้ำ� พื้นที่ส่วนที่เป็นดอน� มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมอยู่ตลอด� ไม่ว่าน้ำจะท่วมถึงหรือไม่ก็ตาม� ส้มโฮง� คือ� ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่มีพูพอนเพื่อค้ำยันลำต้น� ในภาษากลางคือ� ต้นสมพง� (Tetrameles nudiflora R.Br.)� พื้นที่ระหว่าง� ริมตลิ่ง กับ ดอน� อยู่ห่างกันประมาณ� ๕๐๐� เมตร� พื้นที่ส่วนนี้� เมื่อน้ำในแม่น้ำโขงลดลง� มีลักษณะเป็นพื้นที่ลาดเอียง� เข้าหาตลิ่งและดอนทั้งสองข้าง� บริเวณช่วงกลางเป็นร่องน้ำเล็ก ๆ ช่วงน้ำลด� กระแสน้ำไม่รุนแรง� จะมีตะกอนของดินที่ไหลมาจากพื้นที่ตอนบนของลำน้ำ� สะสมเป็นผืน ใหญ่� เดือนพฤศจิกายน� ธันวาคม� แม่น้ำโขงเริ่มลด� ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมลำโขงจะใช้พื้นที่บริเวณนี้� ปลูกพืชผลการเกษตร� โดยจะปลูกบริเวณด้านบนที่น้ำลดลงก่อน� และจะปลูกพืชผลลดต่ำลงมาเรื่อย ๆ จนติดกับลำน้ำ� ช่วงของน้ำลดต่ำสุด� ในเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม� ถ้ามองจากพื้นที่สูงริมตลิ่งแล้ว� จะเห็นพื้นที่การเกษตรมีสีเขียวอ่อนหรือเข้มของพืชผลที่ลดหลั่นกันไปตามความสูงของพื้นที่� งดงามเป็นอย่างยิ่ง

�
พืชที่พี่น้องริมโขงปลูก� มีตั้งแต่� ถั่วลิสง� ข้าวโพด� มันเทศ� (ภาษาถิ่นเรียก� มันแกว)� พืชสวนครัว� เช่น � ผักกาดขาว� ผักกาดหอม� โหระพา� ผักกาดหิ่น� ต้นหอม� ผักชี� บางพื้นที่ปลูกคาม� เพื่อนำไปใช้ย้อมผ้า� พื้นที่บริเวณนี้ทำการเกษตรได้ประมาณ� ๖� เดือน� ตั้งแต่� พฤศจิกายน� ธันวาคม� มกราคม� กุมภาพันธ์� มีนาคม� เมษายน� เมื่อฝนตกปริมาณน้ำในลำน้ำโขงสูงขึ้น� จนท่วมพื้นที่เหล่านี้� ชาวบ้านก็เลิกปลูกและเริ่มปลูกพืชผลใหม่หลังน้ำลด� วนเวียนเป็นวัฏจักรในรอบปี� มาตั้งแต่โบราณ
�� ������������� พื้นที่ส่วนนี้� ไม่มีเอกสารสิทธิ์� แต่สิทธิในการปลูกพืชของชุมชนเป็นมรดกตกทอดกันมาแต่ ปู่ ย่า ตา ยาย ทุกคนจะรู้ว่าสิทธิของตนเองอยู่บริเวณไหน� เมื่อเรายืนอยู่ริมตลิ่งจะเห็นการปลูกพืชเป็นแถวเป็นแนว� ตามสิทธิในพื้นที่ของแต่ละคนที่สืบทอดมาตั้งแต่โบราณ� จากการชอบเลาะ� (เที่ยวดู)� ของนายมักเลาะ� ทำให้เข้าใจในทรัพยากรธรรมชาติที่ประเทศไทยมีอยู่อย่างหลากหลาย� แม่น้ำโขง� หลายคนคงจะมองเห็นแต่สายน้ำที่ไหลหลากอย่างมหาศาลในฤดูฝน� ในฤดูแล้งปริมาณน้ำในลำน้ำโขงแห้งขอดจนติดก้นแม่น้ำ� แต่ถ้าเข้าไปศึกษาเรียนรู้แม่น้ำโขงโดยละเอียดแล้ว� ยังมีทรัพยากรที่หลากหลาย� ที่ผู้คนทั้งสองฝั่งได้นำมาใช้ประโยชน์� ทั้ง� น้ำ� ผืนดิน� ปลาในลำน้ำโขงที่มีความหลากหลาย� เป็นลำดับสองของโลก� รองจากแม่น้ำอเมซอน� แก่งหินอันสวยงาม� พืชพรรณที่เป็นไม้เฉพาะถิ่น� เส้นทางสำหรับการคมนาคม� ไปจนถึงเป็นแหล่งของพิธีกรรม� ดังเช่นชมบั้งไฟพญานาคในวันขึ้น� ๑๕� ค่ำ เดือน ๑๑� ���� ของจังหวัดหนองคาย� และไหลเรือไฟในช่วงออกพรรษาของ��������� จังหวัดนครพนม
��������������� เมื่อเห็นอย่างนี้� เราคงจะรักแม่น้ำโขงมากขึ้นอีก� ช่วยกันรักษาทรัพยากรในแม่น้ำโขงนี้ไว้� เพื่อลูกหลานของเรา
��������������� คำว่า� แม่น้ำโขง� เป็นภาษาที่คนภาคกลางหรือคนอีสานบางส่วนเรียก� แต่คนอยู่ติดกับแม่น้ำโขงที่เป็นคนพื้นถิ่น� และคนในสปป.ลาว� เรียกว่า� แม่น้ำของ� อำเภอเชียงของ� จังหวัดเชียงราย� เป็นหลักฐานประการหนึ่งที่คนไทยริมโขงเรียกแม่น้ำนี้ว่า� แม่น้ำของ� มาตั้งแต่โบราณ� แขวงบ่อแก้ว� ทางตอนเหนือของสปป.ลาว� ถ้าศึกษาจากข้อมูลเก่า� มีชื่อเดิมว่า� แขวงหัวของ� (ต้นแม่น้ำโขง)� แต่มาเปลี่ยนเป็น� แขวงบ่อแก้ว� ในภายหลัง
 Last updated: 2015-03-08 10:40:45
|
@ ริมฝั่งโขง (๒) |
|
|
|
|
|
|
|
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ ริมฝั่งโขง (๒)
|