��������������� ถ้าใครเดินทางมาจังหวัดมุกดาหาร� โดยใช้เส้นทางสายถนนชยางกูร� จากอุบลราชธานี� ไปเที่ยวตลาดอินโดจีน� ริมลำน้ำโขง� ก่อนถึงจังหวัดมุกดาหารสัก� ๒๐� กิโลเมตร� จะผ่านสายน้ำสายหนึ่ง� มีป้ายเขียนไว้ว่า� ห้วย
บังอี่� ถ้าอยู่ในช่วงฤดูแล้ง� ลำน้ำสายนี้แห้งขอดจนถึงก้นห้วย� แต่ในฤดูฝน� ลำห้วยบังอี่จะมีน้ำอยู่เต็มลำห้วย� อันเป็นลักษณะทั่วไปของสายน้ำในภาคอีสาน� ห้วยบังอี่ไหลลงแม่น้ำโขง� ��คนเฒ่าคนแก่� ในแถบนี้ได้อธิบายข้อมูลความเป็นมาของป่าดงบังอี่� ไว้ว่า� ป่าดงบังอี่� ในอดีตเป็นป่าผืนใหญ่ผืนหนึ่งของภาคอีสาน� ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของภาค� มีอาณาเขตกว้างขวางครอบคลุมหลายจังหวัด� ด้านทิศตะวันตกของป่าดงบังอี่� ติดกับลำน้ำยัง� ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด� ทิศเหนือป่าดงบังอี่� มีอาณาเขตข้ามเทือกเขาภูพานไปยังเขตจังหวัดนครพนม� ทิศตะวันออกจรดแม่น้ำโขง� ทิศใต้มีอาณาเขตตั้งแต่อำเภอนิคมคำสร้อย� จังหวัดมุกดาหาร� ลากผ่านไปยังอำเภอเลิงนกทา� จังหวัดยโสธร� ไปจรดลำน้ำยัง� ของจังหวัดร้อยเอ็ด
��������������� สภาพป่าของป่าดงบังอี่� มีป่าหลากหลายชนิด� ด้านทิศตะวันออกติดลำน้ำโขง� บริเวณนี้มีปริมาณน้ำฝนมากกว่าในพื้นที่ด้านใน� สภาพป่าเป็นป่าดง� ป่าดง� เป็นคำของคนอีสาน� เรียกชื่อป่าบริเว
ณนี้ �ถ้าอธิบายเป็นภาษาวิชาการทางป่าไม้� ป่าดง� ก็คือ� ป่าดิบแล้ง� (Dry Evergreen Forest)� นั่นเอง� บริเวณที่เป็นภูเขา� ด้านทิศเหนือของดงบังอี่� สภาพพื้นที่มีหินทรายโผล่� ดินตื้นไม่ค่อยอุ้มน้ำ� จะเป็นป่าโคกที่ทางป่าไม้ใช้ชื่อว่า� ป่าเต็งรัง� (Dry Diptercarp Forest)� บริเวณที่ลาดภูเขาใกล้ลำห้วย� มีชั้นดินหนา� ความชื้นสูง� จะเป็นป่าเบญจพรรณ� (Mixed� Deciduous� Forest) �ที่สมบูรณ์กว่าป่าเต็งรัง� บริเวณที่ราบด้านทิศตะวันตกติดกับลำน้ำยัง� มีน้ำท่วมในช่วงฤดูน้ำหลาก� เป็นประจำทุกปี� จะมีป่าอีกประเภทที่เรียกกันว่า� ป่าทาม� (Riparian� Forest)� กระจายอยู่สองฝั่งของลำน้ำยัง
���
������������ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ� ได้เล่าถึง� ป่าดงบังอี่� ในคราวเสด็จเยี่ยม� มณฑลอีสาน� เมื่อปี พ.ศ.� ๒๔๔๙� โดยท่านเดินทางจากจังหวัดมุกดาหารไปยังจังหวัดยโสธร� ไว้ว่า� “พอถึงปากดง� ก็แลเห็นแต่ต้นยางสูง� สูงใหญ่� สะพรั่งไปทุกด้าน� ริมต้นไม้ใหญ่� ก็มีต้นไม้เล็ก� และกอหนามรกชัฏ� พอเข้าไปรู้สึกเยือกเย็น� เห็นแสงสว่างที่ทางเดินเล็กน้อยเท่าเดือนหงาย� เห็นพระอาทิตย์เพียงเที่ยง� สักครู่� มีลำห้วยใหญ่กลางดง� เรียกห้วยบังอี่� เห็นจะเป็นชื่อของดงนี้� พระยานครราชสีมา� (ภาค� สิงหเสนี)� จางวางเมืองนครราชสีมา� เคยบอกข้าพเจ้าว่า� เป็นดงใหญ่กว่าดงอื่น ๆ ๓� มณฑลนั้น� และว่าเป็นดงที่มีช้างเถื่อนชุม� พวกโพนช้างชอบเสาะช้างดงบังอี่� ด้วยถือว่าเป็นช้างที่มีกำลังมาก� พอเห็นก็ตะหนักใจ� ว่าเป็นดงทึบมาก� ผิดกับดงไหน ๆ ที่ข้าพเจ้าเคยเห็นมามากแล้ว”
�
��������������� ความหมายของคำว่า� ดงบังอี่
��������������� ดงบังอี่� เรียกกันตามภาษาพื้นบ้านว่า� ดงบักอี่� ดงหมากอี่
��������������� บังอี่������� เกิดจากคำพื้นถิ่นอีสานสองคำมาประสมกัน
��������������� บัง���������� หมายถึง� น้ำ� แหล่งน้ำ� ลำน้ำ� ลำห้วย
��������������� อี่������������ ถ้าเป็นต้นไม้� หมายถึง� ต้นเร่ว� หรือหมากแหน่ง
������������������������������� ถ้าเป็นสัตว์� หมายถึง� แมลงในตระกูล� แมงง่วง� แมงโอด� แมงโตด� หรือจักจั่นใหญ่
��������������� เร่ว� ������ เป็นพืชตระกูลขิงข่าชอบขึ้นอยู่บริเวณริมห้วยในป่าดิบแล้ง� อดีตเป็นสินค้าส่งออก� สำคัญใช้ทำเครื่องเทศและประกอบอาหาร� ภาษาอีสานเรียกว่า� หมากแหน่ง
��������������� อี������������ หมายถึง� แมลงวงศ์จักจั่น �Cicadidae� ��ชอบอยู่ตามต้นไม้� มีหลายชนิด� เช่น� แมงง่วง� แมงโตด� แมงอี่� จักจั่น� แมงอี ��(Phatylomia radha)� จะมีขนาดเล็กกว่าแมลงชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน� ก้นสั้น� ปีกยาวกว่าลำตัว� ลำตัวสีน้ำตาลเข้ม� มีลายสีเหลืองสลับน้ำตาล� ปีกในสีส้ม� ปีกนอกสีน้ำตาล� วางไข่อยู่ในดิน� เสียงร้องจะดัง� อี อีๆๆๆๆๆ� ทอดยาว� ไม่กังวานเท่าจั๊กจั่น
��������������� แมงอี่���� เป็นภาษาโซ่� แมลงชนิดนี้ถูกใช้ในพิธีปลงศพของชาวพื้นเมืองที่เรียกว่า� ข่าโ
ซ่� นอกจากนี้� ชาวโซ่ยังใช้เสียงแมงอี่ในการทำนายฟ้าฝน� ถ้าแมงอี่ในป่าส่งเสียงร้องต่อเนื่องยาวนาน� แสดงว่า� ปีนั้นจะมีฝนดี� ถ้าส่งเสียงสั้น ๆ ขาด ๆ หาย ๆ ฝนจะแล้ง
�
ดงบังอี่แหล่งต้นน้ำสำคัญ
��������������� ป่าดงบังอี่� เป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญของภาคอีสานด้านทิศตะวันออก� ลำน้ำสำคัญของดงบังอี่� ได้แก่� ลำน้ำยัง� ลำน้ำก่ำ� ลำน้ำอูน� ห้วยบังมุก� ห้วยบังทราย (บางทราย)� ห้วยบังอี่� ลำเซบก� ลำเซบาย� ลำน้ำเหล่านี้เป็นลำน้ำสาขาของลำน้ำชี� ลำน้ำมูน� ลำน้ำสงคาม� และไหลลงสู่ลำน้ำโขงโดยตรง� จนกล่าวว่า� น้ำในลำน้ำสำคัญทุกสายในอีสาน� ต้องมีน้ำจากดงบังอี่ไหลลง
ดงบังอี่ในปัจจุบัน
��������������� ด้วยกระแสการพัฒนา� ตั้งแต่มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1� เมื่อปี� พ.ศ. 2504�� ดงบังอี่ได้ถูกกระแสทุนนิยม� เปลี่ยนแปลงจากพื้นที่ป่าทึบอันอุดมสมบูรณ์เป็นพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ� เริ่มตั้งแต่� ปอ� มันสำปะหลัง� อ้อย� จนถึงปัจจุบัน� ยางพารา� และปาล์มน้ำมัน� พืชเหล่านี้ได้รุกคืบเข้ามาทดแทนป่าในพื้นที่ราบ� จนมองไม่เห็นเค้าของป่าดิบแล้งที่ราบต่ำอันอุดมสมบูรณ์ในอดีต� ปัจจุบันพื้นที่ป่าที่เหลืออยู่� จะปรากฏอยู่ในบริเวณภูเขา� ในบริเวณอุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว� อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ� เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐานและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูผายล� เท่านั้น

Last updated: 2014-03-29 10:14:35