กรอก email ที่ต้องการส่งแล้วกด Send
ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จจะต้องรู้จักกำหนดภาพลักษณ์ของตนเองเข้าใจบทบาทและวางท่าที ที่เหมาะสมต่อสถานการณ์
 
     
 
หน้าที่ทางด้านนิเวศวิทยาของแนวเชื่อมต่อ
ในบางสถานการณ์แนวเชื่อมต่อที่มีความกว้างมาก ๆ อาจช่วยให้สังคมแห่งชีวิตและระบบนิเวศสามารถอยู่ได้อย่างมั่นคง
 

หน้าที่ทางด้านนิเวศวิทยาของแนวเชื่อมต่อ (Ecological Function of Corridor)

บทบาทของแนวเชื่อมต่อที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดนั้นคือการส่งเสริมให้สิ่งมีชีวิตสามารถกระจายและเคลื่อนตัวไปตามหย่อมที่อาศัยที่อยู่ห่างไกลออกไปได้

อย่างไรก็ตาม Forman &Gordon(1986) ได้กล่าวถึงบทบาทหน้าที่ทางด้านนิเวศวิทยาของแนวเชื่อมต่อซึ่งมีอยู่หลายประการดังต่อไปนี้ ได้แก่

1) การเป็นทางเชื่อมผ่าน (conduit)
2) การเป็นถิ่นที่อาศัย (habitat)
3) การเป็นตัวกรอง (filter)
4) การเป็นตัวขัดขวาง (barrier)
5) การเป็นแหล่งผลิต (source)
6) การเป็นแหล่งกำจัด (sink)

(ที่มา: Hess &Fischer, 2001)

 

นอกจากนี้ Hess & Fischer (2001) ได้เน้นย้ำให้เห็นถึงบทบาทของทางเชื่อมต่อที่มี
ความสำคัญ 2 ด้าน ที่นักจัดการพื้นที่คุ้มครองต้องการ ได้แก่

1) เป็นบทบาทของแนวเชื่อมต่อที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือการเคลื่อนที่ของชนิดเพียงอย่างเดียว
(conduit function)

2) เป็นบทบาทของทางเชื่อมต่อที่ช่วยเหลือชนิดในแง่การเป็นแหล่งอาหารและแหล่ง
สืบพันธุ์ด้วย (habitat function) โดยจะเรียกกลุ่มของสัตว์ป่าเหล่านี้ว่าเป็นผู้อาศัยในทางเชื่อมต่อ(corridor dwellers)

ซึ่งชนิดเหล่านี้อาจมีความสามารถในการเคลื่อนที่ต่ำ จำเป็นต้องใช้เวลาหลายชั่วอายุเพื่อการขยาย(และ/หรือ) ย้ายถิ่นฐานออกไปจากถิ่นที่อาศัยดั้งเดิม ในบางสถานการณ์แนวเชื่อมต่อที่มีความกว้างมาก ๆ อาจช่วยให้สังคมแห่งชีวิตและระบบนิเวศสามารถอยู่ได้อย่างมั่นคง

สัตว์ป่าและพืชพรรณที่เป็นอาหารของสัตว์ป่าสามารถเคลื่อนที่ไปมาระหว่างพื้นที่คุ้มครองที่มีขนาดใหญ่ได้ในช่วงหลายชั่วอายุของสิ่งมีชีวิต

ทางเชื่อมต่อที่มีคุณลักษณะเช่นนี้รู้จักกันในนาม“landscape linkage” โดยที่ Bennett (2003) ได้ให้แนวคิดของการออกแบบทางเชื่อมต่อเพื่อส่งเสริมให้ชนิดสามารถเคลื่อนที่ไปมาระหว่างหย่อมที่อาศัยได้ในระดับภูมิภาค

ในทางตรงกันข้าม บทบาทการเป็นตัวกรองและตัวขัดขวางของทางเชื่อมต่อเป็นการพิจารณาบทบาทของบริเวณพื้นที่ด้านนอกที่มีแนวเชื่อมต่อขั้นกลาง พื้นที่ที่อยู่ตรงข้ามกันของสองฝั่งทางเชื่อมถูกแบ่งแยกออกจากกัน ฉะนั้นแนวทางเชื่อมต่อทำหน้าที่เสมือนเป็นอุปสรรคไม่ให้สิ่งมีชีวิตบางประเภทข้ามผ่านไปมาได้โดยง่าย

อาจมีการยอมให้สิ่งมีชีวิตบางประเภทหรือสิ่งมีชีวิตที่มีบางคุณลักษณะที่เฉพาะสามารถข้ามผ่านไปได้เท่านั้น หรืออาจไม่ยอมให้สิ่งมีชีวิตใด ๆ ผ่านไปเลยก็ได้ ตัวอย่างเช่นการใช้ลำน้ำเป็นแนวเชื่อมต่อระหว่างทะเลสาบสองแห่งอาจทำให้สัตว์บกขนาดเล็กไม่สามารถข้ามผ่านไปได้ เป็นต้น

ขณะที่บทบาทในแง่ของการเป็นแหล่งผลิตและแหล่งกำจัดสิ่งมีชีวิตนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยได้รับความสนใจนักต่อการพิจารณาการออกแบบแนวเชื่อมต่อ เนื่องจากบทบาททางของแนวเชื่อมต่อที่มีอิทธิพลต่อด้านนี้มีไม่ชัดเจนมากนัก

แหล่งผลิตเป็นการอธิบายถึงถิ่นที่อาศัยที่มีภาวการณ์การส่งเสริมการเพิ่มของประชากรมากกว่าภาวการณ์ในการลดจำนวนของประชากร โดยที่แหล่งกำจัดหมายถึงถิ่นที่อาศัยที่มักพบภาวการณ์ที่ลดลงของประชากรมากกว่าภาวการณ์เพิ่มของประชากร


Last updated: 2013-06-15 12:04:28


@ หน้าที่ทางด้านนิเวศวิทยาของแนวเชื่อมต่อ
 


 
     
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ หน้าที่ทางด้านนิเวศวิทยาของแนวเชื่อมต่อ
 
     
     
   
     
Untitled Document
 



LFG
www.lookforest.com|บทความ|โปรแกรมคาร์บอนต้นไม้|ฐานข้อมูลชีวภาพ|เครือข่ายฟาร์มป่าไม้|ติดต่อบรรณาธิการ
Powered by: LOOK FOREST GROUP
23/1 ซอยรัชดาภิเษก 64 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กทม.
Clicks: 
1,310

Your IP-Address: 3.239.76.211/ Users: 
1,309