กรอก email ที่ต้องการส่งแล้วกด Send
ทำธุรกิจต้องคุ้มค่า ช่วยคนไม่ต้องคิดเรื่องคุ้ม
 
     
 
ความต้องการไม้เศรษฐกิจ
ปัจจุบันประเทศไทยใช้ไม้ยูคาลิปตัสร้อยละ 48.2 ไม้ยางพาราร้อยละ 28.2 ไม้สักเพียงร้อยละ 0.3 และไม้เนื้อแข็งต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศร้อยละ 23.2 ของการใช้ไม้ท่อนทั้งหมด 21,963,058 ลูกบาศก์เมตร
 

 

การบริโภคไม้เทียบเป็นไม้ท่อนในรอบ 1 ปี ของกลุ่มอุตสาหกรรมของประเทศ

ลำดับ

ประเภทอุตสาหกรรม

เทียบเป็นไม้ท่อน (ลบ.ม.)

รวม

ร้อยละ

จากไม้ท่อน

จากไม้แปรรูป

1

เยื่อและกระดาษ

 10,488,022

 -

 10,488,022

          47.8

2

เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน

      121,533

         6,160,618

   6,282,151

          28.6

3

ไม้แปรรูป

   (5,728,590)

 -

   (5,728,590)

          (26.1)

4

ก่อสร้าง

 -

         4,283,086

   4,283,086

          19.5

5

ไม้อัดและไม้บาง

      909,799

 -

      909,799

            4.1

 

รวม

 11,519,354

        10,443,704

 21,963,058

        100.0

 

ร้อยละ

52.4

47.6

100.0

 

แหล่งที่มา : สถิติป่าไม้ ปี 2546

 

โดยภาพรวมจะเห็นได้ว่าในรอบ 1 ปี การใช้ไม้(เทียบเป็นไม้ท่อน)ภายในประเทศรวมเท่ากับ 21,963,058 ลูกบาศก์เมตร ในจำนวนนี้กลุ่มอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษมีการใช้ไม้ท่อนมากที่สุด ร้อยละ 47.8 รองลงมา ได้แก่ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ร้อยละ 28.6 อุตสาหกรรมก่อสร้าง ร้อยละ 19.5 อุตสาหกรรมไม้อัดและไม้บาง ร้อยละ 4.1 (สำหรับการใช้ไม้ของอุตสาหกรรมไม้แปรรูปคิดเป็นร้อยละ 26.1 ได้ถูกนำไปใช้ต่อยังอุตสาหกรรมไม้อื่น ๆ จึงไม่ได้นำมาคิดคำนวณ)

 

สำหรับอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ จะใช้ไม้ยูคาลิปตัสเป็นวัตถุดิบเกือบทั้งหมด ปีละกว่า 10 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นไม้ที่รับซื้อจากเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมจากบริษัทเอกชนเป็นส่วนใหญ่

 

สำหรับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ส่วนใหญ่จะใช้ไม้แปรรูปจากโรงงานแปรรูปไม้ภายในประเทศและจากการนำเข้า อย่างไรก็ดีจากการศึกษา ไม้แปรรูปที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นไม้ยางพาราถึงร้อยละ 98.7 ของไม้ที่ใช้ภายในประเทศ หรือเท่ากับ 5.3 ล้านลูกบาศก์เมตร

สำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้างเป็นการใช้ไม้แปรรูปเกือบทั้งหมด จากการศึกษาพบว่า เป็นไม้แปรรูปจากต่างประเทศร้อยละ 92.8 หรือเทียบเป็นไม้ท่อนเท่ากับ 3,973,588ลูกบาศก์เมตร ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็งจากธรรมชาติได้แก่ ไม้ยางนา ไม้สยา และไม้ตระกูลยางอื่น ๆ ซึ่งนำมาใช้ในงานโครงสร้างต่าง ๆ

สำหรับอุตสาหกรรมไม้อัดและไม้บาง ใช้ไม้ท่อนเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้ท่อนยางพาราร้อยละ 93.6 ไม้ท่อนยูคาลิปตัสร้อยละ 5.8 และไม้ท่อนนำเข้าอีกร้อยละ 0.6

 

อย่างไรก็ดีหากเมื่อพิจารณาชนิดไม้ที่ใช้แล้ว ในปัจจุบันประเทศไทยใช้ไม้ยูคาลิปตัสร้อยละ 48.2 ไม้ยางพาราร้อยละ 28.2 ไม้สักเพียงร้อยละ 0.3 และไม้เนื้อแข็งต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศร้อยละ 23.2 ของการใช้ไม้ท่อนทั้งหมด 21,963,058 ลูกบาศก์เมตร

ดังนั้น การส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ จึงควรมุ่งเป้าไปที่การผลิตไม้เพื่อสนองความต้องการของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนเป็นสำคัญ ทั้งนี้เนื่องจากการผลิตวัตถุดิบไม้เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมนี้ ยังขาดระบบการส่งเสริมการปลูกที่ต่อเนื่องและครบวงจร(เมื่อเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ) ซึ่งในปัจจุบันอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ฯ มีโรงงานอยู่เกือบ 8 พันโรงงาน มีการใช้ไม้ประมาณกว่า 6 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจากการศึกษาพบว่า เป็นอุตสาหกรรมที่มีกำลังผลิตและการใช้ไม้สูงสุดถึง 11 ล้านลูกบาศก์เมตร ในการนี้จะต้องจัดหาพื้นที่สำหรับการจัดการไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืนประมาณ 15 ล้านไร่



Last updated: 2010-11-08 07:11:17


@ ความต้องการไม้เศรษฐกิจ
 


 
     
เธ™เธฒเธกเธœเธนเน‰เธชเนˆเธ‡         [1/13398]...xxx155.204.17 2021-09-11 03:22:35
    เธ‚เน‰เธญเธ„เธงเธฒเธก

 
     
     
   
     
Untitled Document
 



LFG
www.lookforest.com|บทความ|โปรแกรมคาร์บอนต้นไม้|ฐานข้อมูลชีวภาพ|เครือข่ายฟาร์มป่าไม้|ติดต่อบรรณาธิการ
Powered by: LOOK FOREST GROUP
23/1 ซอยรัชดาภิเษก 64 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กทม.
Clicks: 
2,856

Your IP-Address: 3.145.97.1/ Users: 
2,509