Untitled Document
     
 
กรวยป่า
Untitled Document กรวยป่า
(Casearia grewiaefolia)
FLACOURTIACEAE
กรวยป่า(กลาง); ก้วย(เหนือ); ขุนเหยิง, บุนเหยิง(สกลนคร); คอแลน(นครราชสีมา); ตวย(เพชรบูรณ์); ตวยใหญ่, ตานเสี้ยน(พิษณุโลก); ผ่าสาม(นครพนม, อุดรธานี)
 

ชื่อท้องถิ่น:

กรวยป่า (กลาง) ; ก้วย (ภาคเหนือ) ;คอแลน (นครราชสีมา) ; บุนเหยิง (สกลนคร); ตวย(เพชรบูรณ์); ตวยใหญ่ , ตานเสี้ยน (พิษณุโลก); ผ่าสาม (นครพนม,อุดรราชธานี)

ชื่อสามัญ:

กรวยป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์:

Casearia grewiaefolia Vent. var.grewiifolia

ชื่อวงศ์:

FLACOURTIACEAE

ลักษณะวิสัย/ประเภท:

ไม้ยืนต้น

ลักษณะพืช:

ต้น : ขนาดเล็กถึงขนาดกลางไม่ผลัดใบสูง 7-18 เมตร เปลือกสีเทาปนน้ำตาล ผิวเขียวเข้ม หรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ใบ : ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับดอกสองข้างของโคนใบ ใบมน ปลายแหลมทู่ ๆ เนื้อใบหนา หลังใบเกลี้ยง ดอก : ขนาดเล็ก สีเขียวอ่อน ผล : รูปรี โต ผลแก่สีเขียวจัด เมล็ด : มีรูปร่างเป็นเหลี่ยม 

ปริมาณที่พบ:

ปานกลาง

การขยายพันธุ์:

ใช้เมล็ด

อธิบายวิธีการเพาะ/ขยายพันธุ์:

เพาะเมล็ด

การใช้ประโยชน์/ส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์:

ราก แก้ท้องร่วง แก้ตับพิการ เปลือก บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ดอก แก้ไข้ ใบ แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน เมล็ด แก้ริดสีดวงทวาร ข้อมูลจากภูมิปัญญาไทย เมล็ด ใช้เบื่อปลา

แหล่งที่พบ:

ป่าชุมชน ต.ดงบัง อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี

ข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม:

ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ในต่างประเทศพบที่มาเลเซีย อินโดนีเซีย และหมู่เกาะในภูมิภาคเมลานีเซีย

ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ได้:

ทุกฤดู

แหล่งที่มาของข้อมูล:

-


Last updated: 2012-10-18 13:00:02
 
     
     
   
     
Untitled Document