Untitled Document
     
 
การแบ่งเกรดสารกฤษณา
Untitled Document กฤษณา
(Aquilaria crassna)
THYMELAEACEAE
กฤษณา(ตะวันออก)
 

การแบ่งเกรดสารกฤษณาในเนื้อไม้กฤษณา (agarwood)

          การแบ่งเกรดของสารกฤษณาที่สะสมในเนื้อไม้กฤษณาจะใช้เกณฑ์จากปริมาณการสะสมของสารกฤษณาที่เกิดมากหรือน้อยเป็นหลัก เนื้อไม้ที่มีสารกฤษณาสะสมอยู่มากกว่าจะมีเกรดสูงกว่าและมีราคาสูงกว่าเกรดต่ำลงไป สำหรับประเทศไทย สามารถจำแนกได้เป็น 4 เกรด (ตารางที่ 1) นอกจากนี้ ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ ที่ใช้เรียกเนื้อไม้กฤษณาตามปริมาณความมากน้อยของสารที่อยู่ในเนื้อไม้ที่รู้จักกันในหมู่ผู้เก็บหาเนื้อไม้กฤษณาและพ่อค้าที่รับซื้อ เช่น ไม้ตะเคียน ไม้ปากขวาน และ ไม้แก่น เป็นต้น

          อย่างไรก็ดี การแบ่งเกรดสารกฤษณา จะมีความหลากหลายมากกว่านี้ในระดับประเทศและจากผู้ค้ากฤษณาในตลาดโลก ยกตัวอย่างการแบ่งเกรดสารกฤษณาในบริษัทหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย ดังแสดงในตารางที่ 2


             ลักษณะเนื้อไม้ที่มีสารกฤษณาสะสมเกรด 1                       ลักษณะเนื้อไม้ที่มีสารกฤษณาสะสมเกรด 2-เกรด 3      

ตารางที่ 1  การแบ่งเกรดเนื้อไม้ที่เกิดสารกฤษณาในประเทศไทย

เกรด
ลักษณะ
ราคา (บาท/กก.)

 

1 (ไม้หนึ่ง)
2 (ไม้สอง)
3 (ไม้สาม)
4 (ไม้สี่)

 

มีสารกฤษณาสะสมอยู่มาก ทำให้มีสีดำ หนักกว่าน้ำ
สีจะจางออกทางน้ำตาล เบากว่าน้ำ
มีสารกฤษณาสะสมอยู่น้อยกว่าไม้สอง เบากว่า
มีสารกฤษณาสะสมอยู่น้อยมาก ใช้กลั่นเป็นน้ำมันกฤษณา
15,000-20,000
8,000-10,000
1,000-1,500
400-600

ที่มา : สมคิด (2525)

ตารางที่ 2  การแบ่งเกรดสารกฤษณาของบริษัทตัวแทนจำหน่ายในประเทศอินโดนีเซีย

เกรด
ลักษณะ
ราคา(USD/กก.)

Super A
Super B
Super C
Sabak
Kemedangan bungkus
Teri padat
Teri timbul
Teri layang
Kemedangan kropos

สีดำสนิท มีสารเรซินสะสมอยู่มาก หนักกว่าน้ำ
สีดำ มีสารเรซินสะสมปานกลาง หนักกว่าน้ำ
สีค่อนข้างดำ มีสารเรซินสะสมปานกลาง หนักกว่าน้ำ
สีดำเล็กน้อย มีสารเรซินสะสมน้อย หนักปานกลาง
สีน้ำตาล มีสารเรซินสะสมเล็กน้อย
ชิ้นส่วนขนาดเล็กของ Super A และ B
ชิ้นส่วนขนาดเล็กของ Super C และ Sabak
ชิ้นส่วนขนาดเล็กของ Kemedangan bungkus
สีออกน้ำตาลอ่อน ๆ เบากว่าน้ำ มีสารเรซินสะสมเล็กน้อย 300-400

300-400
250-300
200-250
150-200
20-25
15-17
10-15
10-15
7-10

ที่มา:  Soehartono and Mardiastuti (1997)


Last updated: 2012-08-21 12:22:53
 
     
     
   
     
Untitled Document