Untitled Document
     
 
พะยุง
Untitled Document พะยุง
(Dalbergia cochinchinensis)
LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
กระยูง กะยง (เขมรสุรินทร์) ขะยุง (อุบลราชธานี) แดงจีน (กบินทร์บุรี ปราจีนบุรี) ประดู่ลาย (ชลบุรี) ประดู่เสน (ตราด) พะยูงไหม (สระบุรี) หัวลีเมาะ (จีน) ประดู่ตม (จันทบุรี)
 

พะยูง (Dalbergia cochinchinensis Pierre)

พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดหนองบัวลำภู

ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia cochinchinensis Pierre

วงศ์ LEGUMINOSAE- PAPILIONOIDEAE

ชื่อสามัญ Siamese Rosewood

ชื่ออื่น ขะยุง แดงจีน ประดู่เสน พยุง

ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15 - 25 เมตร เปลือกสีเทาเรียบ เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ 

ใบ เป็นช่อแบบขนนกปลายใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบย่อยเรียงสลับจำนวน 7 - 9 ใบ ขนาดกว้าง 3 - 4 เซนติเมตร ยาว 4 - 7 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจาง 

ดอก ขนาดเล็กสีขาว กลิ่นหอมอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบ และตามปลายกิ่ง 

ผล เป็นฝักรูปขอบขนานแบนบางขนาดกว้าง 1.2 เซนติเมตร ยาว 4 - 6 เซนติเมตร มีเมล็ด 1 - 4 เมล็ด

นิเวศวิทยา ขึ้นในป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณชื้น ทั่ว ๆ ไป ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก

ออกดอก พฤษภาคม - กรกฎาคม ฝักแก่ กรกฎาคม - กันยายน


Last updated: 2012-08-15 17:37:50
 
     
     
   
     
Untitled Document