Untitled Document
     
 
มะเนียงน้ำ
Untitled Document มะเนียงน้ำ
(Aesculus assamica)
HIPPOCASTANACEAE
มะเนียงน้ำ(ตาก, เชียงราย); ขล่ำปอง, มะเกียน้ำ(เหนือ); จอบือ(กะเหรี่ยง กำแพงเพชร); จอหว่อบื่อ(ละว้า); ปวกน้ำ(ลำปาง); โปตานา(กะเหรี่ยง กาญจนบุรี); หมากขล่ำปอง(เชียงใหม่)
 

มะเนียงน้ำ

Aesculus assamica Griff.

Sapindaceae

ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 15-20 เมตร เปลือกเรียบ มักมีช่องอากาศกระจาย ใบประกอบรูปฝ่ามือ มี 6-7 ใบ ก้านใบยาว 10-25 ซม. ใบย่อยรูปใบหอกกลับ ใบกลางใหญ่กว่าใบอื่นๆ ยาว 12-35 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบเกลี้ยง ขอบจักฟันเลื่อย ก้านใบย่อยเกือบไร้ก้านถึงยาวประมาณ 2 ซม. ช่อดอกยาวถึง 70 ซม. ช่อกระจุกยาว 1.5-8 ซม. ดอกจำนวนมาก บิดเกลียวเล็กน้อย กลีบเลี้ยงเป็นหลอด มีขนสั้นนุ่มปกคลุมด้านนอก ปลายแยกเป็น 4 กลีบ มีกลีบใหญ่ 1 กลีบ กลีบดอกสีขาว มีเหลืองแต้มซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีแดงก่อนหลุดร่วง มี 4 กลีบ รูปใบหอกกลับ ยาว 2-2.5 ซม. เกสรเพศผู้มี 7 อัน ยาว 3-4 ซม. ผลรูปทรงรี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5-3 ซม. ก้านผลยาว 2-4 ซม. เมล็ดมักพบเมล็ดเดียว มีขนาดใหญ่

มะเนียงน้ำมีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดีย (สิกขิม อัสสัม) พม่า จีนตอนใต้ และลาว ในไทยอินเดีย พม่า จีนตอนใต้ และลาว ในไทยพบทางภาคเหนือแถบจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ตาก กำแพงเพชร และกาญจนบุรี ขึ้นตามริมลำธารในป่าดิบแล้งหรือที่ลาดชันบนภูเขาในป่าดิบเขาต่ำ ระดับความสูง 100-1300 เมตร
 

ชื่ออื่น   ขล่ำปองหรือหมากขล่ำปอง, มะเกียน้ำ (ภาคเหนือ); ปวกน้ำ (ลำปาง), 


Last updated: 2012-08-09 07:41:30
 
     
     
   
     
Untitled Document