�
•ร่วมประชุมที่ปรึกษาอุทยานฯ
หลายหน่วยงานรวมกันเบิกบานนัก
ตัวแทน PAC พร้อมหน้ามาคึกคัก
ด้วยตระหนักหน้าที่ที่ภูมิใจ
•ท่านปลัด"วิจารย์ สิมาฉายา"
เห็นคุณค่าของงานอันยิ่งใหญ่
ให้ข้อคิดคำแนะนำย้ำกลับไป
ประยุกต์ใช้ตามครรลองท้องถิ่นตน
•วิทยากรหลายท่านได้บรรยาย
อภิปรายหลายประเด็นเด่นเหลือล้น
ระดมสมองให้รางวัลกันหลายคน
หวังเกิดผลอุทยานฯตระการตา
•เน้นคุ้มครองคงค่าธรรมชาติ
ประวัติศาสตร์น่าสนใจให้รักษา
ความหลากหลายชีวภาพนับเนื่องมา
ดินน้ำป่าพาอุดมสมบูรณ์ดี
•เร่งวิจัยให้ศึกษาวิชาการ
ในทุกด้านที่เกี่ยวข้องของทุกที่
ผู้สนใจได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้มี
เกิดคุณค่านับทวีวิเศษนัก
•อีกสนองการท่องเที่ยวนันทนาการ
คนสำราญเคียงคู่อนุรักษ์
คลายความเครียดกายใจได้ผ่อนพัก
ด้วยแสนหนักเหนื่อยล้าภาระงาน
•สร้างภาคีเครือข่ายให้มารวม
มีส่วนร่วมช่วยกันหมั่นประสาน
ทรัพยากรภูมิปัญญาวิชาการ
ในทุกด้านผสานผสมอย่างกลมกลืน
•เราชาว PAC จากกันในวันนี้
เตรียมใจที่พบกันในวันอื่น
เพื่ออุทยานฯก้าวย่างอย่างยั่งยืน
สร้างร่มรื่นชื่นชมสังคมไทย
•ครูนิด
วนศาสตร์(ชมรมสีเสียดแก่น)
www.lookforest.com
แรงดลใจ :
คณะกรรมการที่ปรึกษาพื้นที่คุ้มครองหรือ
PAC
(Protected Area Committee) มีที่มาจากการที่กรมป่าไม้โดยการสนับสนุนของรัฐบาลเดนมาร์ค
ผ่านกองทุน �DANCED �ดำเนินการโครงการจัดการผืนป่าตะวันตกเชิงระบบนิเวศ
(WEFCOM : The Western Forest Complex Ecosystem Management) ในช่วงปี พ.ศ. 2542 - 2546 ที่ได้ใช้แนวทางให้มี PAC
เข้าร่วมบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์กับหน่วยงานภาครัฐ
ต่อมาในช่วงปี พ.ศ.2547-2552� กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มีการต่อยอดเป็นโครงการ
JoMPA (Joint Management�
of Protected Area� in Western� Forest�
Complex) ซึ่งถือได้ว่าเป็นการพัฒนาการรูปแบบของการมีส่วนร่วม
โดยภาคประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ในการบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์โดย PAC ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
��������������� ตั้งแต่ปี
พ.ศ.2552
เป็นต้นมา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ได้เน้นการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมในลักษณะของ PAC อย่างเต็มรูปแบบทั้งสำนักอุทยานแห่งชาติและสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า
โดยให้อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์ป่าเสนอกรมเพื่อแต่งตั้ง PAC ในพื้นที่คุ้มครองแต่ละแห่ง สำหรับองค์ประกอบของ PAC ต้องมีตัวแทนจากส่วนราชการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคประชาสังคมจำนวน 25
- 36 คน โดยมีการผสมผสานผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลายทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ
ความหลากหลายทางชีวภาพ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว
ภูมิปัญญาชาวบ้าน การมีส่วนร่วม และการจัดการหรือความรู้ความสามารถอื่นๆ
ที่เป็นประโยชน์ ทั้งนี้มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการให้คำปรึกษาต่อหน่วยงาน
ทั้งในด้านการมีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผน การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลโดยอาจมีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยปฏิบัติงานตามความเหมาะสม
รวมทั้งดำเนินการอื่นๆตามที่ได้รับมอบหมายเพิ่มเติม

Last updated: 2017-07-30 08:36:43