�
•กับการงานงอกงามเกินความคิด
กับชีวิตก้าวไกลเกินใฝ่หา
"วนศาสตร์"สร้างให้เกินได้มา
ใช้วิชาพาจำเริญเกินคำนึง
•เด็กบ้านนอกเกิดมาชายป่าเขา
ผ่านทุกข์เศร้าร้าวใจให้คิดถึง
พ่อแม่เห็นการศึกษายังตราตรึง
โอกาสจึงเรียนวิชาการป่าไม้
•พบอาจารย์แสนดีที่เหมือนปราชญ์
ให้ทั้งศาสตร์แสนจริงอันยิ่งใหญ่
ผนวกศิลป์หมายเสริมเติมกันไป
หล่อหลอมให้ใฝ่ภักดิ์รักพนา
•ก่อความรู้ทักษะประสบการณ์
อุดมการณ์สานฝันอันเจิดจ้า
พร้อมทั้งวิทย์สังคมบ่มวิญญาณ์
�หลากตำราคณานับปรับใช้ไป
•ออกฝึกงานกลางป่าพาแข็งขัน
ยิ่งมุ่งมั่นสืบสานการป่าไม้
ประเพณีกิจกรรมน้อมนำใจ
เพื่อพงไพรเบาหนักจักสู้ทน
•มีเพื่อนรุ่นเคียงอยู่คู่บ่าไหล่
ประสานใจสัมพันธ์กันมากล้น
ร่วมสุขทุกข์ไม่ถอยคอยผจญ
ทุ่มกมลเพื่อป่ามานานเนา
•พบน้องพี่ลูกไพรอยู่ใกล้ชิด
เปรียบญาติมิตรเคียงข้างแต่ปางเก่า
คอยอวยสุขทุกข์ปันพาบรรเทา
สังคมเราเปี่ยมรักสามัคคี
•จึงภูมิใจได้ศึกษา "วนศาสตร์"
ตอบแทนชาติเกิดมาในครานี้
ปณิธานมั่นหมายไว้ในชีวี
รักษ์พงพีคู่ไทยให้ยั่งยืน
•ครูนิด วนศาสตร์(ชมรมสีเสียดแก่น)
www.lookforest.com
แรงดลใจ:
คณะวนศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้วิวัฒนาการมาจากโรงเรียนป่าไม้ จังหวัดแพร่
ของกรมป่าไม้ ซึ่งได้เปิดสอนทางด้านวิชาการป่าไม้เป็นครั้งแรกที่จังหวัดแพร่
เมื่อวันที่ 1
พฤษภาคม 2479 โดยในระยะแรกได้เปิดสอนเฉพาะในระดับประกาศนียบัตรการป่าไม้เท่านั้น
จนในขณะนี้ได้เปิดสอนในระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอก
ทางวิชาการป่าไม้ในหลายหลักสูตร
ซึ่งมีหลักสูตรนานาชาติทางด้านวิทยาศาสตร์เขตร้อนอยู่ด้วย
ในปัจจุบันคณะวนศาสตร์ได้กำหนดปรัชญาไว้คือ "เปี่ยมล้นคุณธรรม ผู้นำการวิจัย
รับใช้สังคมโลก" ซึ่งมีความหมายดังนี้
��������������� 1. เปี่ยมล้นคุณธรรม
หมายถึง นิสิตและบุคลากรทุกคนของคณะวนศาสตร์ ต้องเป็นผู้ที่
1.1 รักษาความสัตย์
มีความจริงใจต่อตัวเอง ที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
1.2 รู้จักข่มใจตนเอง
ฝึกใจตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์ ความดีนั้น
1.3 การอดทน อดกลั้น
และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์สุจริตไม่ว่าจะด้วยประการใด
1.4 รู้จักละวางความชั่ว
ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
��������������� 2. ผู้นำการวิจัย
หมายถึง นิสิตและบุคลากรของคณะวนศาสตร์ ต้องมุ่งทำการวิจัยสร้างสรรค์
เพื่อประโยชน์ของงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม
��������������� 3. รับใช้สังคม
หมายถึง นิสิตและบุคลากรของคณะวนศาสตร์ทุกคน ล้วนมุ่งทำงานด้านการป่าไม้
เพื่อรับใช้สังคมและมวลมนุษยชาติ
��������������� นอกจากนี้
คณะวนศาสตร์ยังได้กำหนดปณิธาน
ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นตั้งใจจริงที่จะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ อันได้แก่
"รังสรรค์ความรู้ เคียงคู่คุณธรรม ผู้นำรักษ์ทรัพยากรป่าไม้"
ที่มีความหมายดังนี้
1.) รังสรรค์ความรู้
หมายถึง นิสิตและบุคลากรคณะวนศาสตร์ เป็นผู้ที่สร้างสรรค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้
เพื่อการก้าวเข้าสู่สังคมโลกอย่างภาคภูมิ
2.) เคียงคู่คุณธรรม
หมายถึง นิสิตและบุคลากรคณะวนศาสตร์ต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรม
และจริยธรรมร่วมผลักดันสังคมป่าไม้สู่สังคมแห่งธรรมาภิบาล
3.) ผู้นำรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
หมายถึงนิสิตและบุคลากรของคณะวนศาสตร์เป็นผู้นำในอาเซียน
ในการผลักดันให้เกิดการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ
จากการที่คณะวนศาสตร์
เป็นเพียงคณะเดียวในประเทศไทยที่เปิดการเรียนการสอนทางด้านวิชาการป่าไม้โดยตรงมาอย่างยาวนาน
โดยมีกิจกรรมและประเพณีบางด้านของบรรดานิสิตที่สืบเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ที่สำคัญได้แก่การวิ่งประเพณี 15 กิโลเมตร สำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1-3
ทั้งนี้ เฉพาะนิสิตชั้นปีที่ 1 ต้องผ่านการวิ่งทดสอบ
12 กิโลเมตร อีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายด้านที่นิสิตต้องดำเนินการร่วมกัน กับทั้งการเรียนการสอนยังได้เน้นให้มีการฝึกปฏิบัติในพื้นที่ป่าไม้ในภูมิภาคต่างๆ
เป็นระยะๆ �จึงทำให้ผู้ที่จบจากคณะวนศาสตร์มีความผูกพันต่อกันภายใต้คำขวัญที่ว่า
"วนศาสตร์ เข้มแข็ง กล้าหาญ อดทน สามัคคี"�
นับตั้งแต่เริ่มต้นก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน
มีผู้สำเร็จการศึกษาจากคณะวนศาสตร์ไปแล้วในทุกระดับเกือบ 10,000 คน โดยส่วนใหญ่แล้วได้เข้าทำงานเกี่ยวกับการป่าไม้ทั้งภาคราชการ
รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน อันเป็นงานที่กล่าวได้ว่าต้องเสียสละในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมอย่างแท้จริง
ซึ่งมีหลายท่านที่ประสบผลสำเร็จและมีชื่อเสียงในสังคม ตั้งแต่ระดับผู้นำองค์กร
หัวหน้าหน่วยงาน อธิบดี ปลัดกระทรวง และรัฐมนตรี อันเป็นความภาคภูมิใจของชาววนศาสตร์ร่วมกัน

Last updated: 2017-01-16 08:37:51