�
"ลปม.รูปไม่หล่อ
แต่น้ำใจดีๆ
รับรักกับลูกป่าไม้ๆ ขึ้นเหนือล่องใต้คงจะได้ไม้ฟรี..."*
•อะไรกันนักหนาชาวป่าไม้
ชอบใจกล้าหน้าใหญ่ไปทุกที่
ทำขี้โอ่อวดสาวไม่เข้าที
คุยมั่งมีเกินตัวกลัวเหลือใจ
•จะเอาไม้จากไหนมาให้เขา
ใช่ย่อมเยาแพงโลดโหดเพียงไหน
มีเงินเดือนสูงมากสักเท่าไร
หรือหวังแต่แค่ให้ไม้จิ้มฟัน
•หากวางแผนตัดไม้จากในป่า
อย่าชั่วช้าทำผิดด้วยคิดสั้น
ถูกจับได้ต้องคดีมีโทษทัณฑ์
อาจถึงขั้นติดคุกทุกข์ทรมา
•อย่ารีดไถพ่อค้าจัดหาให้
เขาหวังได้สิ่งดีที่คุ้มค่า
ซ้ำยังแอบดูหมิ่นคอยนินทา
ถูกตราหน้าว่าฉ้อราษฎร์อนาถใจ
•หากพ่อแม่รวยระยับมีทรัพย์สิน
ให้ที่ดินเสนอหน้าดีกว่าไม้
อีกเพชรทองรถรากล้าทุ่มไป
สาวอยากได้ทั่วหน้าถ้าแจกฟรี
•อยากให้สมพาทีที่กล่าวมา
ปลูกสวนป่าตัวเองอย่างเร่งรี่
คอยบำรุงรักษาไว้ไม่กี่ปี
ก็จะมีไม้แจกแลกใจนวล
•สัมปทานการทำไม้พาให้ช้ำ
ดินฟ้าน้ำทุกด้านเกิดผันผวน
ป่าถดถอยน้อยลงจงคร่ำครวญ
ต้องทบทวนเรื่องไม้ให้สาวฟรี
•วอนเถิดหนาพวกเราชาวป่าไม้
ทุ่มปกป้องผองไพรให้เต็มที่
รู้พอเพียงสัตย์ซื่อถือกรรมดี
สาวจะตอบมอบไมตรีที่ต้องการ
•ครูนิด วนศาสตร์(ชมรมสีเสียดแก่น)
www.lookforest.com
หมายเหตุ
*ส่วนหนึ่งของเพลงรำวงลูกป่าไม้
คำร้องโดยศยาม-ธาตรี� ทำนองโดยครูเอื้อ
สุนทรสนาน
แรงดลใจ: เพลงรำวงลูกป่าไม้ แต่งโดย "ศยาม" เมื่อปี พ.ศ.2512 ตามคำร้องขอของนายกสโมสรนิสิตคณะวนศาสตร์ในขณะนั้นคือนายสุดใจ(เอกพจน์)
นพวารุมาศ วน.32 เพื่อเป็นของขวัญแก่นิสิตชั้นปีที่ 1
ซึ่งเป็น วน.35 โดยมีเพลงใหม่ในอัลบั้มนี้อีก 3
เพลงคือ ชีวิตวนศาสตร์ พยัคฆ์ไพรและพนาสวาท นับว่าทั้ง 4 เพลงในชุดเดียวกันนี้มีความไพเราะ
เป็นที่รู้จักและถูกนำมาร้องกันอย่างแพร่หลายในหมู่ชาววนศาสตร์
รวมทั้งแฟนเพลงผู้สนใจตั้งแต่ยุคสมัยนั้นจนถึงปัจจุบันทีเดียว
�������������� ทำนองของเพลงนี้เป็นเพลงรำวง
จึงมีความเร้าใจกระตุ้นให้หนุ่มสาวออกมาร่ายรำอย่างสนุกสนานร่วมกัน
สำหรับเนื้อเพลงนับว่าสะท้อนบุคลิกภาพของหนุ่มๆชาวป่าไม้ส่วนใหญ่ได้เป็นอย่างดี
(ช่วงเวลานั้นยังไม่มีการรับนิสิตหญิงเข้ามาเรียนในคณะวนศาสตร์) กล่าวคือ ออกจะ
"ขี้โอ่" กับสาวๆอยู่บ้าง ตามประสาที่มีแต่คนหนุ่มทั้งหมดในคณะ จึงต้องการอ้อนให้สาวคณะอื่นหันมาให้ความสนใจ
หากแต่เนื้อเพลง อาจสร้างความหมั่นไส้ให้หนุ่มคณะอื่นอยู่บ้างไม่มากก็น้อย ในอดีตชาววนศาสตร์จึงมีประวัติว่าเกิดการปะทะกับหนุ่มต่างคณะอยู่เนืองๆ
��������������� อย่างไรก็ตาม นิสัยใจคอของชาววนศาสตร์นับว่าถูกถ่ายทอดจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง
ตามอัตลักษณ์ที่ว่า "เข้มแข็ง กล้าหาญ อดทน สามัคคี"
พวกเราจึงมักใจใหญ่ในหมู่เพื่อนพ้อง
ที่บางคนเผลอนำไปใช้ในชีวิตทำงานและชีวิตส่วนตัวอยู่บ้าง
ดังนั้นหากเจอสาวที่ถูกอกถูกใจแล้วเป็นต้องใจป้ำเต็มที่
เพื่อมุ่งหวังพิชิตใจสาวเจ้าให้อยู่หมัดในระยะเวลาอันสั้น
บางรายแทบจะไม่มีชั้นเชิงด้วยซ้ำไป
ก็ได้แต่หวังว่าเหล่าหนุ่มรุ่นน้องในยุคหลังๆคงมีความสุขุมในเรื่องนี้มากขึ้น
เพราะมีสาวในคณะร่วมเรียนด้วย ชีวิตจึงไม่แห้งแล้งเช่นในอดีตอีกแล้ว
�

Last updated: 2016-11-14 23:05:14