การจัดการระบบภูมิทัศน์<br>เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ได้ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และอาจสร้างความไม่ยั่งยืนด้านการท่องเที่ยวได้ในอนาคต� เช่น อุทกภัย และภัยแล้ง การทำลายภูมิทัศน์ที่สวยงามด้วยสิ่งก่อสร้างจำนวนมาก ทั้งนี้เป็นเพราะขาดการวางแผนภูมิทัศน์ที่ดี
ภูมิทัศน์ป่าไม้ในเขตต้นน้ำลำธาร มีลักษณะโดยธรรมชาติเป็นภูเขา พื้นที่ลอนลาด สูงชันสลับซับซ้อน ซึ่งการเป็นภูมิทัศน์ที่ดีนั้นจะต้องปกคลุมด้วยป่าไม้ ที่ทำหน้าที่อนุรักษ์ดินและน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในสภาพที่มีการขยายตัวของชุมชน จึงมีความต้องการใช้ประโยชน์ที่ดินมากขึ้น ภูมิทัศน์ป่าไม้ในเขตต้นน้ำลำธารจึงต้องทำหน้าที่ที่หลากหลาย ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และเศรษฐกิจ ดังนั้น การใช้ประโยชน์ที่ดิน จึงต้องมีความสมดุลย์ ซึ่งประกอบไปด้วย การปกคลุมของพื้นที่ป่าไม้ดั้งเดิม การฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมให้เป็นป่าที่สามารถทำหน้าที่ด้านอนุรักษ์ได้ พื้นที่วนเกษตร และพื้นที่อยู่อาศัย ในสัดส่วนที่เหมาะสม อย่างไรก็ดี ภูมิทัศน์ป่าไม้มีดินอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตต้นน้ำลำธารมีสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม จึงเป็นพื้นที่อ่อนไหวต่อการถูกบุกรุกเพื่อการเกษตร และปรับเปลี่ยนเป็นที่อยู่อาศัย และที่พักผ่อนหย่อนใจ

อำเภอวังน้ำเขียว เป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีภูมิทัศน์ป่าไม้ในเขตต้นน้ำลำธาร ซึ่งอดีตปกคลุมไปด้วยป่าไม้อุดมสมบูรณ์ และถูกปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรมในเวลาต่อมา ประกอบกับราษฏรยากจนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ขาดที่ดินทำกิน รัฐจึงมีนโยบายปฏิรูปที่ดินป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมโทรมเพื่อให้ราษฏรยากจนมีที่ทำกินอย่างยั่งยืน ไม่ไปบุกรุกพื้นที่ป่าอีกต่อไป แต่ด้วยนโยบายของรัฐให้ความสำคัญด้านการท่องเที่ยวในแง่ของการทำรายได้เข้าประเทศ จึงทำให้ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้มีความต้องการใช้สินค้า บริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว และที่พักทวีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภูมิทัศน์ที่สวยงามเป็นที่ต้องการเพื่อธุรกิจการท่องเที่ยว ส่งผลให้ราคาที่ดินสูงขึ้นตามลำดับ เกิดแรงจูงใจให้เกษตรกรขายที่ดินแก่นักธุรกิจเพิ่มมากขึ้น เป็นผลให้ที่พักประเภทรีสอร์ทขยายตัวอย่างรวดเร็วอย่างไร้ทิศทาง
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ได้ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และอาจสร้างความไม่ยั่งยืนด้านการท่องเที่ยวได้ในอนาคต เช่น อุทกภัย และภัยแล้ง การทำลายภูมิทัศน์ที่สวยงามด้วยสิ่งก่อสร้างจำนวนมาก ทั้งนี้เป็นเพราะขาดการวางแผนภูมิทัศน์ที่ดี
ในการสร้างต้นเแบบการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนนั้น จะต้องคำนึงถึงการวางแผนภูมิทัศน์เป็นอันดับแรก เพื่อวางแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเหมาะสมและสมดุลย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร จะต้องประกอบไปด้วย ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่ได้รับการฟื้นฟู พื้นที่วนเกษตร พื้นที่ทำกินที่เหมาะสม พื้นที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม พื้นที่รีสอร์ทที่เหมาะสม
เพื่อให้นโยบายด้านการท่องเที่ยวสอดคล้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จึงจำเป็นต้องมีการจัดการระบบภูมิทัศน์ให้เป็นไปตามหลักการข้างต้น ซึ่งจะทำให้สามารถกำหนดรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับศักยภาพของการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท
 Last updated: 2012-07-27 19:07:49
|
@ การจัดการระบบภูมิทัศน์<br>เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน |
|
|
|
|
|
|
|
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ การจัดการระบบภูมิทัศน์<br>เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
|