กรอก email ที่ต้องการส่งแล้วกด Send
เราห้ามคนคิดไม่ดีกับเราไม่ได้ แต่เราทำให้เขาคิดกับเราดีขึ้นได้
 
     
 
การแตกกระจายของผืนป่า(2)
กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์เป็นตัวการทำลายพื้นที่ธรรมชาติ โดยการทำลายได้เริ่มจากพื้นที่ขนาดเล็ก ๆ เสมือนเป็นการเจาะรูทะลุไปบนพื้นที่ธรรมชาติ อัตราการสูญเสียถิ่นที่อาศัยจะเร็วหรือช้าผันแปรไปตามระดับความเข้มข้นของกิจกรรมของมนุษย์
 

ตามการศึกษาของ Bennett (2003) พบว่าการเกิดการแตกกระจายของผืนป่าประกอบไป
ด้วยสามองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่

  1. การเกิดการสูญเสียถิ่นที่อาศัย (habitat loss) ได้แก่การลดลงของขนาดพื้นที่ถิ่นที่อาศัย ภายหลังจากเกิดการแบ่งแยกพื้นที่และการทำลายพื้นที่บางส่วนออกไป (habitat reduction)
  2. การเพิ่มระดับของความโดดเดี่ยวของถิ่นที่อาศัย โดยการเพิ่มขึ้นของระยะทางระหว่างหย่อมป่ าที่เหลืออยู่ ขณะที่การใช้ประโยชน์พื้นที่ดินประเภทอื่น ๆ เกิดขึ้นมาแทนที่ระหว่างหย่อมป่า (habitat isolation)
  3. การแตกกระจายของกลุ่มป่า ถือได้ว่ามีผลกระทบต่อระบบนิเวศทั้งในระดับท้องถิ่น
    (local landscape) และระดับภูมิภาค (regional landscape) อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อทั้งในระดับโครงสร้าง (structure) และหน้าที่ (function) ด้วย

ตารางที่ 1 เหตุผลและความจำเป็นที่สิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องเคลื่อนที่ โดยความผันแปรของการเคลื่อนที่ มีตั้งแต่การเคลื่อนที่บ่อยครั้งมากแต่เป็นการเคลื่อนที่ในระยะทางที่ไม่มากนัก ไปจนกระทั่งถึงการเคลื่อนที่ไม่บ่อยครั้งนักแต่การเคลื่อนที่มีระยะทางไกลมาก

เหตุผลของการเคลื่อนที่

ช่วงเวลา

ระยะทาง

1 เสาะแสวงหาแหล่งอาหารที่กระจายตัวอยู่ในหย่อมป่าต่าง ๆ

รอบวัน

กม. ถึง 10 กม.

2 ใช้แหล่งทรัพยากรที่มีอยู่บางช่วงเวลา

รอบวัน-รอบเดือน

ม.ถึง กม.

3 ใช้สภาพแวดล้อมเฉพาะที่ในบางช่วงฤดูกาล

การย้ายถิ่นตามฤดูกาล

กม. – 100 กม.

4 เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยในช่วงชีวิตที่ต่างกัน

ตามฤดูกาล

100 กม.

5 กลับมาเพื่อสืบพันธุ์ให้ลูก

รอบปี

1000 กม.

6 อพยพเพื่อตั้งถิ่นฐานในสภาพแวดล้อมใหม่

-

ท้องถิ่น - 100 กม.

7 ขยายพื้นที่การแพร่กระจาย

-

100 กม.

8 หาที่อยู่ใหม่ตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

ทศวรรษ

กม. - 100 กม.

9 การอพยพระหว่างเกาะหรือทวีป

ทศวรรษ

กม. - 100 กม.

Harris, L. D. &J. Scheck. 1991. From implication to application: the dispersal corridor principle applied to the conservation of biological diversity, 189-220 In Saunders, D. A. &R. J. Hobbs. (Eds.), Nature Conservation 2: The Role of Corridors. Surrey Beaty and Sones, Chipping Norton, Australia.
 

สำหรับกระบวนการเกิดการแตกกระจายของผืนป่ามีขบวนการเกิดดังภาพที่ 1 ซึ่ง Hunter(2002) ได้สรุปขั้นตอนการเกิดการแตกกระจายของหย่อมป่ าเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้


 

ภาพที่ 1. กระบวนการเกิดการแตกกระจายของผืนป่า (Fragmentation) 1) Dissection การเริ่มต้นการเกิดการกระจัดกระจายของหย่อมป่าโดยมีทางคมนาคมตัดผ่าน 2) Perforation กิจกรรมมนุษย์ทำลายพื้นที่ธรรมชาติเป็นพื้นที่ขนาดเล็ก ๆ เหมือนเป็นการเจาะรูไปบนพื้นที่ธรรมชาติ 3) Fragmentation การขยายพื้นที่เขตเมืองและพื้นที่การเกษตรเป็นไปอย่างรวดเร็วทำให้พื้นทีธรรมชาติเริ่มแยกห่างจากกันและเกิดเป็นหย่อมป่ าขนาดใหญ่ 4) Attrition การขยายพื้นที่ทำกินทำให้พื้นที่หย่อมป่าขนาดใหญ่เปลี่ยนแปลงไปเป็นหย่อมป่าขนาดเล็ก (ดัดแปลงจาก Hunter, 2002) 

 

  1. การตัดผ่าน (dissection) ขั้นแรกของการเริ่มต้นการเกิดการแตกกระจายของหย่อมป่า ต้องมีการพัฒนาเส้นทางคมนาคมประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ถนน ทางเกวียน ทางเดินเท้า หรือทางรถไฟ เป็นการเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่ได้ของมนุษย์ กล่าวได้ว่าการเข้ามาของเส้นทางคมนาคมเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดการสูญเสียถิ่นที่อาศัย
  2. การเป็นรูทะลุของผืนป่า (perforation) กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์เป็นตัวการทำลายพื้นที่ธรรมชาติ โดยการทำลายได้เริ่มจากพื้นที่ขนาดเล็ก ๆ เสมือนเป็นการเจาะรูทะลุไปบนพื้นที่ธรรมชาติ อัตราการสูญเสียถิ่นที่อาศัยจะเร็วหรือช้าผันแปรไปตามระดับความเข้มข้นของกิจกรรมของมนุษย์
  3. การแตกกระจายของผืนป่า (fragmentation) เมื่อมีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ การขยายพื้นที่เขตเมืองและพื้นที่เกษตรกรรมเป็นไปอย่างรวดเร็วทำให้พื้นทีธรรมชาติเริ่มแยกตัวห่างออกจากกัน
     
  4. การลดจำนวนพื้นที่ป่ า (attrition) เวลาผ่านไปไม่กี่รุ่นของมนุษย์ การขยายพื้นที่ทำกินทำให้พื้นที่หย่อมป่าขนาดใหญ่เปลี่ยนแปลงไปเป็นหย่อมป่ าขนาดเล็ก ขณะที่พื้นที่โดยรอบมีการเปลี่ยนสภาพไปเป็นพื้นที่การใช้ประโยชน์ของมนุษย์ประเภทอื่น ๆ มากยิ่งขึ้น เช่น พื้นที่เพื่อการเกษตรกรรมปศุสัตว์ และ เขตเมือง เป็นต้น กล่าวคือพื้นที่ป่ าธรรมชาติส่วนใหญ่ในที่สุดแล้วถูกพัฒนากลายเป็นพื้นที่สำหรับการอยู่อาศัยและประกอบกิจกรรมต่าง ๆ สำหรับมนุษย์นั่นเอง
     
     

    (แหล่งที่มา: http://jwt.thaiwildlife.org นันทชัย พงศ์พัฒนานุรักษ์ และ ประทีป ด้วงแค, นิเวศวิทยาของการออกแบบแนวเชื่อมต่อสำหรับสัตว์ป่า: แนวความคิดในเบื้องต้นสำหรับประเทศไทย)


Last updated: 2013-01-12 22:03:23


@ การแตกกระจายของผืนป่า(2)
 


 
     
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ การแตกกระจายของผืนป่า(2)
 
     
     
   
     
Untitled Document
 



LFG
www.lookforest.com|บทความ|โปรแกรมคาร์บอนต้นไม้|ฐานข้อมูลชีวภาพ|เครือข่ายฟาร์มป่าไม้|ติดต่อบรรณาธิการ
Powered by: LOOK FOREST GROUP
23/1 ซอยรัชดาภิเษก 64 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กทม.
Clicks: 
1,988

Your IP-Address: 3.133.145.17/ Users: 
1,987