[1236]
เลียงมัน ( Berrya ammonilla)
TILIACEAE
เลียงมัน(กลาง)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่ในป่าดงดิบชื้น และป่าเบญจพรรณทั่วไป ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๑๕-๒๐ เมตร เปลือกสีเทาปนน้ำตาล กระพี้สีขาว หรือสีชมพูอ่อนๆ ใบรูปพัดผสมรูปไต กว้างมากกว่ายาว ขนาด ๑๒-๑๕ x ๑๐-๑๒ ซม. ส่วนกว้างที่สุดอยู่ใกล้โคน โคนมนกว้างหรือหยักเว้าเข้า ส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบแยกออกเป็น ๓ แฉก หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีทา ขอบเป็นคลื่นห่างๆคล้ายฟันเลื่อย ดอกสีชมพูอ่อน ค่อนข้างแดง ออกเป็นช่อยาวๆตามง่ามใบและปลายกิ่ง ช่อหนึ่งๆมีมากกว่า ๑๐ ดอก กลีบรองกลีบดอกสั้นกว่ากลีบดอก ทั้งกลีบดอกและกลีบรองดอกมีอย่างละ ๕ กลีบ เท่ากัน เมื่อดอกเจริญเต็มที่ กลีบดอกจะหลุดร่วงไป คงเหลือแต่กลีบรองกลีบดอกขยายตัวออกไปเป็นปีก ผลกลม มีปีก ๓-๕ คู่
ลักษณะเนื้อไม้
สีน้ำตาลแดง หรือแดงเข้ม มีเส้นละเอียดสีอ่อนกว่าสีพื้นแทรก มักมีลายเป็นกระ งามเป็นมันเลื่อม เสี้ยนมักตรงและสม่ำเสมอ เหนียว แข็ง ทนทาน เลื่อย ไสกบ ตบแต่งไม่ยาก ขัดให้เป็นเงาได้ดี
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๙๘ (๑๓%)
สกายสมบัติ
มีอัตราการยืดหดตัวทางด้านรัศมีประมาณร้อยละ ๕.๕๒ ทางด้านสัมผัสประมาณร้อยละ ๑๐.๗๕ ทางด้านยาวตามเสี้ยนประมาณร้อยละ ๐.๒๔
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๑,๐๔๒ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๔๖๓ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๑๔๒,๒๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๕.๖๒ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๗ ปี ขึ้นไป
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ยากมาก (ชั้นที่ ๕)
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เช่น ทำเสา รอด ตง เครื่องบน หมอนรองรางรถไฟ ทำตัวถังรถ เพลาล้อเกวียน เครื่องมือกสิกรรม ด้ามเครื่องมือ เครื่องเรือนที่สวยงาม ทำเรือใบ แจว พาย กรรเชียง ลูกหีบ ไม้คาน ด้ามหอก และแร็กเก็ต