|
|
|
|
|
[4280] โกงกางใบใหญ่ ( Rhizophora mucronata) RHIZOPHORACEAE โกงกางใบใหญ่(ภาคกลาง),กงกอน(เพชรบุรี,ชุมพร),กงกางนอก(เพชรบุรี),กงเกง(นครพนม),กางเกง, พังกาใบใหญ่(ภาคใต้)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่เป็นหมู่ล้วนๆ ตามป่าชายเลนด้านนอกสุดทั่วไป และมักจะขึ้นเป็นปริมาณมากกว่าโกงกางใบเล็ก |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงราว ๓๐ เมตร ไม่ผลัดใบ โคนลำต้นมีรากค้ำจุน หรือรากอากาศระเกะระกะ เพื่อช่วยผยุงลำต้น เช่นเดียวกับโกงกางใบเล็ก แต่เปลือกนอกมีสีค่อนข้างเข้ม หรือสีดำ ค่อนข้างคล้ำกว่าสีเปลือกของโกงกางใบเล็ก และใบใหญ่กว่า ใบรูปมนกว้าง หรือรูปบรรทัด กว้าง ๕-๑๓ ซม. ยาว ๘.๕-๑๘.๐ ซม. ปลายแหลม หรือมน โคนสอบเข้าหากัน คล้ายรูปลิ่ม ดอกออกเป็นช่อๆหนึ่งมีตั้งแต่ ๒-๑๒ ดอก ลำต้นอ่อน เป็นรูปทรงกระบอก |
ลักษณะเนื้อไม้
สีแดง ถึงแดงแก่ เสี้ยนตรงสม่ำเสมอ เนื้อหยาบ แข็งและหนัก เลื่อย ผ่าได้ง่ายมาก |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๑.๒๐ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๒-๓ ปี เฉลี่ยประมาณ ๒.๕ ปี (ในลักษณะไม้เสารั้ว) |
การอาบน้ำยาไม้
|
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำเสา และหลักในที่ที่น้ำทะเลขึ้นถึง ขนาดย่อมทำกลอนหลังคาจาก และทำพื้นร้านตากของ ส่วนมากใช้ทำฟืน และถ่ายชนิดดี ตลอดจนใช้ทำเยื่อกระดาษได้ดี นอกจากนี้ยังใช้ทำเสาโป๊ะ รอด ตง และอกไก่ บ้านตามริมชายทะเลได้ด้วย
เปลือก น้ำจากเปลือกใช้ล้างบาดแผล ห้ามโลหิต รับประทานแก้ท้องร่วง แก้บิด แก้อติสาร ให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า แห อวน หนัง ฯลฯ และให้น้ำฝาดชนิด Pyrogallol และ Catechol
|
|
|