[646] แสมดำ ( Avicennia officinalis) AVICENNIACEAE แสมดำ, อาปีอาปี(มลายู-ปัตตานี)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นตามป่าชายเลนริมทะเล หรือที่น้ำทะเลขึ้นถึงทั่วไป |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก บางครั้งพบแตกกิ่งก้านสาขาคล้ายไม้พุ่ม ไม่ผลัดใบ เปลือกสีเทา มีรอยแตกระแหงตามยาวลำต้นเล็กน้อย และมีรูระบายอากาศอยู่กระจัดกระจาย เปลือกในสีขาว หรือขาวอมเหลือง มีระบบรากพิเศษ ทำหน้าที่หายใจ ซึ่งรากเหล่านี้เจริญตั้งฉากออกมาจากรากแขนง ส่งปลายรากตั้งตรงขึ้นเหนือผิวดิน รอบๆโคนต้น บริเวณปลายรากมีรูระบายอากาศอยู่ทั่วไป ใบรูปไข่กลับ ขนาด ๒-๔ x ๔-๙ ซม. โคนสอบ ปลายกลมมน ด้านบนเป็นมัน ด้านล่างเกลี้ยง ดอกไม่มีก้านดอก กาบรองดอก (bract) โค้งกลับ กลีบดอกมี ๕ แฉก ผลเป็นรูปไข่แบนๆ ขนาด ๓.๐ x ๑.๕ ซม. ปลายเป็นจะงอย มีขนสีน้ำตาล |
ลักษณะเนื้อไม้
สีเทาหม่น มีเส้นสีดำหรือเทาแก่ขนานกันไปตาวแนวยาวของไม้ เสี้ยนสน เนื้อหยาบ และไม่สม่ำเสมอ อ่อน เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่าย |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๘๙ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
|
การอาบน้ำยาไม้
|
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำสากตำข้าว ทำด้ามคิวบิลเลียด ทำเสาโป๊ะ และทำฟืน ประโยชน์ทางยา มีรสเฝื่อนขม รักษาโรคกระดูก แก้กษัย กร่อนลงฝัก ปัสสาวะพิการ แก้หืดไอ และมองคร่อ ไอกรน ฝีในท้อง ริดสีดวง ท้องมาน อาเจียน ลงท้อง ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องขึ้น ขับเสมหะ แก้บิด แก้พิษต่างๆ รวมทั้งพิษงูกัด เข้ายาบำรุงเลือด ประจำเดือนสตรี ขับฟอกเลือดร้าย ประจำเดือนไม่ปกติ |