|
|
|
|
|
[784] พะยอม ( Shorea roxburghii) DIPTEROCARPACEAE พะยอม(ภาคกลาง),พะยอมทอง(สุราษฎร์ธานี,ปราจีนบุรี),ยางหยวก(น่าน),กะยอม(เชียงใหม่), ขะยอม(ลาว),พะยอมดง(ภาคเหนือ),แคน(เลย),เชียง,เซี่ยว(กระเหรี่ยง เชียงใหม่)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้ง และชื้น ตลอดจนป่าดิบแล้งทั่วไปทุกภาค ที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ ๖๐๐-๑,๒๐๐ เมตร |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๑๕-๓๐ เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลา ตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกหนา สีน้ำตาล หรือเทา แตกเป็นร่องตามยาวลำต้น และเป็นสะเก็ดหนา เปลือกในสีน้ำตาลอ่อนปนเหลือง และมีทางสีน้ำตาลแก่ผ่าน ใบรูปขอบขนานแคบๆ ขนาด ๓-๔ x ๘-๑๐ ซม. โคนมนปลายมนหรือหยักเป็นติ่งสั้นๆ เนื้อเกลี้ยงเป็นมัน ดอกสีขาว กลิ่นหอมจัด ออกเป็นช่อใหญ่ตามปลายกิ่ง หรือเหนือรอยแผลใบ กลีบดอกจีบเวียนกัน ผลรูปกระสวยปลายแหลม ขนาด ๑๒ x ๒๐ มม. มีปีกยาว ๓ ปีก ปีกสั้น ๒ ปีก |
ลักษณะเนื้อไม้
สีเหลืองอ่อน ถ้าทิ้งไว้นานๆ จะกลายเป็นสีน้ำตาล มักมีเส้นสีดำหรือสีแก่กว่าสีพื้นผ่านเสมอ ซึ่งเป็นท่อน้ำมันหรือยาง เสี้ยนมักสน เนื้อค่อนข้างหยาบ แข็งและเหนียว เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่าย |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๗๗ (๑๔%) |
สกายสมบัติ
มีอัตราการยืดหดตัวทางด้านรัศมีประมาณร้อยละ ๔.๒๓
ทางด้านสัมผัสประมาณร้อยละ ๗.๙๔
ทางด้านยาวตามเสี้ยนประมาณร้อยละ ๐.๔๖
|
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๖๔๓ กก.
ความแข็งแรง ประมาณ ๗๘๔ กก. / ตร.ซม.
ความดื้อ ประมาณ ๘๖,๕๐๐ กก. / ตร.ซม.
ความเหนียว ประมาณ ๒.๒๐ กก.-ม.
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๑.๘-๒๐.๘ ปี เฉลี่ยประมาณ ๑๑.๙ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ยากมาก (ชั้นที่ ๕) |
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำหมอนรองรางรถไฟ เสาบ้านเรือน ขื่อ รอด เรือขุด กับใช้ในการก่อสร้างอื่นๆ ตง พื้น ฝา และเครื่องบน เสากระโดงเรือ แจว พาย กรรเชียง คราด ครก สาก กระเดื่อง ลูกหีบ ซี่ล้อเกวียน ตัวถังรถ กระเบื้องไม้ มีลักษณะคล้ายๆไม้ตะเคียนทอง ควรใช้แทนกันได้
เปลือก รสฝาด ใช้เป็นยาสมานลำไส้ แก้ท้องเดิน และให้น้ำฝาดชนิด Pyrogallol และ Catechol
ดอก ผสมยาแก้ไข้ และยาหอมแก้ลม บำรุงหัวใจ
ชัน ใช้ผสมน้ำมันทาไม้ ยาแนวเรือ
|
|
|