กลุ่ม:สวนป่าเบญจกิตติ LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[2338]
 
กันเกรา
Fagraea fragrans
LFG
 
 
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
กันเกรา (Fagraea fragrans Roxb. )  [2338]
POTALIACEAE
Anan
 
  กันเกรา(ภาคกลาง),ตะมะซู,ตำมูซู(มลายู ภาคใต้),ตาเตรา(เขมร ตะวันออก), ตำเสา,ทำเสา(ภาคใต้),มันปลา(ภาคเหนือ,ตะวันออกเฉียงเหนือ) LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: กันเกรา(Fagraea fragrans) LFG
 
   
   
 
บทความ: กันเกรา(Fagraea fragrans) LFG
 
 

กันเกรา_2017-03-19 14:34:21
 
   
[2338]
กันเกรา ( Fagraea fragrans)
POTALIACEAE
กันเกรา(ภาคกลาง),ตะมะซู,ตำมูซู(มลายู ภาคใต้),ตาเตรา(เขมร ตะวันออก), ตำเสา,ทำเสา(ภาคใต้),มันปลา(ภาคเหนือ,ตะวันออกเฉียงเหนือ)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในป่าเบญจพรรณชื้น และตามที่ต่ำ ที่ชื้นแฉะใกล้น้ำ ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคกลาง และมีขึ้นทั่วไปในป่าดิบชื้นทางภาคใต้ ตลอดลงไปถึงมาเลเซีย
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ๒๕ เมตร เปลือกนอกหยาบ สีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึกไม่เป็นระเบียบ โคนต้นไม่มีพูพอน ใบมน ขนาด ๒.๕-๓.๕ x ๘-๑๑ ซม. ปลายแหลม หรือยาว เรียบโคนแหลม เนื้อหนา คล้ายหนัง ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ ๑๗ มม. ออกหนาแน่นเป็นกระจุกๆอยู่บนช่อสั้นๆ เมื่อเริ่มบานสีขาว ต่อไปเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ใกล้จะร่วงเป็นสีเหลืองเข้ม ผลกลม เล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๖ มม. มีติ่งแหลมสั้นๆอยู่ตรงปลายสุด เมื่อแก่ผนังไม่แตกแยกออกจากกัน ผลอ่อนสีส้ม เมื่อแก่เต็มที่เปลี่ยนเป็นสีแดงเลือดนก มีรสขม เมล็ดมีขนาดเล็กมาก
ลักษณะเนื้อไม้
แก่นสีเหลืองอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อละเอียด เหนียว แข็ง ทนทานมาก และทนทานต่อปลวก เลื่อย ผ่า ไสกบ ตบแต่งง่าย มีน้ำมันในตัว ชักเงาได้ดีมาก
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๙๒
สกายสมบัติ
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๗๐๓ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๔๔๕ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๑๖๘,๐๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๓.๖๗ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
มีปริมาณสารละลายใน แอลกอฮอล์-เบ็นซิน ร้อยละ ๘.๐๐ น้ำเย็น ร้อยละ ๔.๕๘ น้ำร้อน ร้อยละ ๗.๒๒ และโซเดียมไฮดร็อกไซด์ ๑ เปอร์เซ็น ร้อยละ ๑๓.๓๐ มีปริมาณขี้เถ้า ร้อยละ ๐.๐๙ เพ็นโตซาน ร้อยละ ๑๒.๙๙ ลิกนิน ร้อยละ ๓๑.๔๘ โฮโลเซลลูโลซ ร้อยละ๖๗.๐๘ เซลลูโลซ (คร็อซและบีแวน) ร้อยละ ๕๓.๒๓
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๗-๑๑ ปี เฉลี่ยประมาณ ๗.๖ ปี
การอาบน้ำยาไม้
ไม่สามารถทำการอาบน้ำยาด้วยวิธีการปกติได้ (ชั้นที่ ๖)
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ทำเสา สะพานน้ำ เครื่องเรือน เครื่องกลึง กล่องบุหรี่ ซาว จีนทางปักษ์ใต้นิยมใช้ทำหีบจำปาใส่ศพ ทำพื้น ฝา ประตู หน้าต่าง รอด ตง อกไก่ ที่ต้องการความแข็งแรงทนทาน ไม้บุผนังที่สวยงาม ทำกระดูกงู โครงเรือ ลูกประสัก เสือกระโดงเรือ ด้ามเครื่องมือ กรุบ่อน้ำ หมอนรองรางรถไฟ กระเบื้องไม้ และมีรสฝาดขม ใช้เข้าบำรุงธาตุ แก้ไข้จับสั่น แก้หืด ไอ มองคร่อ ริดสีดวง ท้องมาน แน่นหน้าอก ลงท้องเป็นมูกเลือด แก้พิษฝีกาฬ บำรุงม้าม แก้เลือดลมพิการ เป็นยาอายุวัฒนะ เปลือก บำรุงโลหิต ผิวหนังผุพอง ปวดแสบปวดร้อน