[5073] ตะบูนขาว ( Xylocarpus granatum) MELIACEAE ตะบูน,กระบูนขาว,ตะบูนขาว(ภาคกลาง,ภาคใต้)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่ตามป่าเลนชายทะเล หรือที่ที่น้ำทะเลขึ้นถึง และตามป่าพรุทั่วไป |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง ผลัดใบ แต่ผลิใบใหม่เร็ว เรือนยอดแผ่กว้าง รูปทรงไม่แน่นอน ลำต้นมักคดงอ กิ่งคดงอเป็นข้อศอก โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกเรียบสีเทา เทาอมขาว หรือสีน้ำตาลปนเทา มีรูระบายอากาศทั่วไป ใบเป็นช่อ เรียงสลับกัน ใบย่อยรูปไข่กลับ ปลายมนกว้างๆ หรือหยักเว้าเข้า เนื้อหนา เกลี้ยง ดอกสีเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผลกลม แข็ง ขนาดโต เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๐ ซม. ผลแก่จะแตกตามรอยประสานเป็น ๔ กลีบ |
ลักษณะเนื้อไม้
สีแดงอ่อน ทิ้งไว้นานเป็นสีน้ำตาลแกมแดง เป็นมันเลื่อม เสี้ยนค่อนข้างสน เนื้อค่อนข้างหยาบ แต่สม่ำเสมอ เหนียว แข็ง แข็งแรง เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่าย เมื่อขัดและชักเงา ทำให้เห็นเส้นลึกงามมาก |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๘๙ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๕๐๙ กก.
ความแข็งแรง ประมาณ ๙๘๐ กก. / ตร.ซม.
ความดื้อ ประมาณ ๙๒,๖๐๐ กก. / ตร.ซม.
ความเหนียว ประมาณ ๑.๖๖ กก.-ม.
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
|
การอาบน้ำยาไม้
|
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เช่น ทำเสา ขื่อ ดง กระดานพื้น เครื่องเรือน เครื่องแต่งบ้าน ฯลฯ ลักษณะคล้ายไม้ตะบูนดำ ควรใช้ร่วมกันได้
เปลือก ให้น้ำฝาด ใช้ย้อมหนัง แห และอวนได้
เปลือกและผล แก้อหิวาต์
เปลือกและเมล็ด รับประทานแก้ท้องร่วง แก้บิด และต้มชะล้างบาดแผล
|