|
|
|
|
|
[3363] รักใหญ่ ( Melanorrhoea usitata) ANACARDIACEAE รักใหญ่,รัก(ภาคกลาง),ซู(กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน),ซู้(กระเหรี่ยง กาญจนบุรี),มะเรียะ(เขมร),ฮักหลวง(ภาคเหนือ)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นตามป่าแดง ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบทางภาคเหนือ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๓๐๐-๑,๐๐๐ เมตร |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูง ๑๕-๒๕ เมตร เปลือกนอกสีเทาอมน้ำตาล ดำปนเทา หรือสีน้ำตาล ทิ้งไว้สักครู่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ ส่วนที่ยังอ่อนอยู่จะมีขนสีน้ำตาลปนเทาหนาแน่น พอแก่จะร่วงหลุดไป ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับอยู่ตอนปลายๆกิ่งเป็นกลุ่มรูปไข่กลับ มน หรือรูปขอบขนาน ขนาด ๕-๑๒ x ๑๒-๓๖ ซม. โคนสอบมน หรือโค้งกว้างๆ หลังใบมีขนสีน้ำตาลปนเทาประปราย ท้องใบมีขนหนาแน่น เมื่อแก่เต็มที่จะร่วงหลุดไปเกือบหมด เนื้อหนา ขอบเรียบ หรือเป็นคลื่นบ้าง ดอกเป็นดอกสมบูรณ์ ออกเป็นช่อใหญ่ตามง่ามใบตอนปลายๆกิ่ง กลีบดอกและกลีบรองดอกมีอย่างละ ๕ กลีบ ผลกลม แข็ง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑.๒ ซม. มีปีกสีแดงเรื่อๆ |
ลักษณะเนื้อไม้
สีแดงเข้ม มีริ้วสีแก่แทรก เป็นมันเลื่อม เสี้ยนสน เนื้อค่อนข้างละเอียด เหนียว เด้ง แข็ง ทนทาน ไสกบ ตบแต่งไม่ยาก ขัดเงาได้ดี |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๙๕ (๑๓%) |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๑๕-๑๘ ปี เฉลี่ยประมาณ ๑๗.๑ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
|
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำบัวประกบฝา เครื่องเรือน เครื่องกลึง ไถ ด้ามเครื่องมือ ไม้ถือ คันชั่ง เสาต่างๆ ไม้บุผนังที่สวยงาม ทำกระสวย ซี่ฟืม ด้ามหอก พานท้ายและรางปืน ด้ามร่ม
เปลือก เข้ายาบำรุงกำลัง ขับเหงื่อ ทำให้อาเจียน ต้มเป็นยารักษาโรคเรื้อน แก้กามโรค บิด ท้องร่วง และโรคปวดข้อเรื้อรัง
เปลือกของราก ใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง พยาธิลำไส้ โรคไอ ท้องมาน
ยาง เป็นยาถ่ายอย่างแรง และกัดเนื้อสด ผสมกับยางสลัดไดรักษาโรคผิวหนัง ขี้กลาก ริดสีดวง ผสมกับน้ำผึ้ง รักษาโรคที่ปาก เอาสำลีชุบยางอุดฟันที่เป็นรู แก้ปวดฟัน ใช้ทำยารักษาโรคเรื้อน โรคตับ ท้องมานและพยาธิ ใช้ทาไม้ ทาเครื่องเขิน ทารองพื้นวัตถุต่างๆ เพื่อลงลวดลายหรือปิดทอง ทากระดาษและผ้ากันน้ำซึม
ใบและราก ใช้เป็นยาพอกแผล
|
|
|