|
|
|
|
|
ข้อมูลทั่วไป
Untitled Document
ยูคาลิปตัส (Eucalyptus camaldulensis) Myrtaceae ไม้วิก(ลาว)
ชื่อภาษาไทย
|
|
ยูคาลิป
|
ชื่ออื่นๆ
|
|
ยูคาลิป |
ชื่อภาษาอังกฤษ |
|
Red river gum,
Murray red gum, red gum |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
|
Eucalyptus camaldulensis Dehnh. |
ชื่อพ้อง
|
|
- |
วงศ์
|
|
Myrtaceae |
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
|
ไม้ยืนต้น
สูงถึง 50 เมตร ลำต้นเปลาตรง เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นถึง 1 เมตร กิ่งก้านโปร่ง
เปลือกเรียบ สีขาวเทาเขียวแกมเหลืองหรือเทาแกมชมพู ผิวร่อนเป็นแผ่น
สะเก็ดไม่แน่นอน ใบเดี่ยว เรียงสลับ ห้อยลง รูปใบหอกแคบ ขนาดกว้าง 0.7-2.0
เซนติเมตร ยาว 8-30 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม สีเขียวหรือเขียวแกมเทา
ช่อดอกออกที่ซอกใบ แบบซี่ร่ม หรือแบบกระจุกมี 7- 11 ดอก ก้านช่อดอก ยาว 0.6-1.5
เซนติเมตร ก้านดอกย่อยเรียว ยาว 0.5-1.2 เซนติเมตร ดอกสมบูรณ์เพศ ดอกตูม รูปกลม
หรือกรวยกลม ด้านบนเป็นฝาปิดรูปทรงกลม ปลายมีจงอย ฝาปิดร่วงเมื่อดอกบาน
ด้านล่างเป็นฐานดอกรูปถ้วย เกสรเพศผู้ มีจำนวนมาก ผลแบบแคปซูลแห้ง
เมื่อแตกปากเปิดมีลิ้น 3-5 ช่อง รูปทรงกลมหรือคล้ายรูปไข่ เมล็ดมีจำนวนน้อย ประมาณ
15 เมล็ดต่อผล ผิวเรียบ สีน้ำตาลแกม เหลือง
|
|
|
|
นิเวศวิทยา
|
|
มีแหล่งกำเนิดทั่วไปในผืนแผ่นดินใหญ่ของออสเตรเลีย
ทั่วโลกมีการปลูกทั่วไปทั้งในเขตร้อนและกึ่งร้อน
ในออสเตรเลียพบตามแนวบริเวณที่แม่น้ำไหลผ่าน
และมีการปลูกอย่างกว้างขวางในเขตแห้งแล้งและกึ่งแห้งแล้ง
และมีหลายแห่งที่พบขึ้นตามธรรมชาติ ยูคาลิปมีสายพันธุ์หลากหลายถึง 600 สายพันธุ์
สารเคมีในน้ำมันหอมระเหยในยูคาลิปสายพันธุ์ต่าง ๆ จะมีความเฉพาะเจาะจงบ่งบอกถึงสายพันธุ์
และการนำไปใช้ ในประเทศไทยยูคาลิปตัสพันธุ์ที่ใช้ทางยาพบไม่มาก [1]
|
|
|
|
สรรพคุณ
|
|
ยูคาลิปสายพันธุ์ที่ใช้ทำยาคือ (E. globutus) ใบขับเสมหะ
แก้ติดเชื้อ แก้ไข ใช้ทาถูนวดตามอวัยวะต่างๆ แก้ฟกช้ำ ทาคอแก้ไออมแก้หวัดคัดจมูก
น้ำมันยูคาลิปตัสสายพันธุ์นี้จะมีสาร 1,8-cineole สูง [2] |
ข้อมูลการวิจัยของน้ำมันยูคาลิป |
 Last updated: 2016-05-28 17:31:31
|
|
|
|
|
|
|
|