Untitled Document
     
 
ยางนาพญาไม้แห่งเอเซียอาคเนย์
Untitled Document ยางนา
(Dipterocarpus alatus)
DIPTEROCARPACEAE
ยาง ยางขาว ยางแดง ยางหยวก ยางแม่น้ำ (ทั่วไป) กาตีล (เขมรกบินทร์บุรี ปราจีนบุรี) ขะยาง (ชาวบนนครราชสีมา) เคาะ (กะเหรี่ยง) จะเตียล (เขมรศรีสะเกษ) จ้อง (กะเหรี่ยง) ชันนา (หลังสวนชุมพร) ทองหลัก (ละว้ากาญจนบุรี) ยางกุง (เลย) ยางควาย (หนองคาย) ยางใต้ (กบินทร์บุ
 

"ไม้ยางนาประเทศไทย ได้ถูกตัดฟันไปใช้สอย และทำเป็นสินค้ากันเป็นจำนวนมากขึ้นทุกปี เป็นที่น่าวิตกว่า หากมิได้ทำการบำรุงส่งเสริม และดำเนินการปลูกไม้ยางนาขึ้นแล้ว ปริมาณไม้ยางนาอาจจะลดน้องลงไปทุกที จึงควรที่จะได้มีการดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับการปลูกไม้ยางนา เพื่อจะได้นำความรู้ไปใช้ในทางปฎิบัติ" พระราชปรารภพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช 2504

 

ม้ยางนามีชื่อพื้นเมืองเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น มีชื่อทางการค้าว่า Yang หรือ Garjansหรือ Keruing มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dipterocarpus alatus Roxb.es G. Don ยางนา เป็นไม้ในวงศ์ ไม้ยาง (Dipterocarpaceae) สกุล (Genus) ไม้ยาง (Dipterocarpus) ไม้สกุลนี้มีด้วยกัน 69 ชนิด แต่ในประเทศไทยมีเพียง 16 ชนิด ไม้สกุลไม้ยางเป็นไม้พื้นเมืองของเอเชียอาคเนย์

ามหลักพฤกษศาสตร์ไม้ยางนาจัดอยู่ทั้งในกลุ่มพรรณไม้เขตอินโดจีน เป็นไม้ขนาดสูงใหญ่ เรือนยอดสูง ในพื้นที่สภาพแวดล้อมเหมะสมไม้ยางนาอาจจะมีความสูงถึง 50 เมตร เส้นรอบวงที่ระดับอกอาจจะอยู่ระหว่าง 4-7 เมตร โดดเด่นเป็นเสมือนพญาไม้ทั้งในป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้นของเอเชียอาคเนย์ จึงได้ชื่อว่าเป็นพญาไม้แห่งเอเชียอาคเนย์ ใบยางนาเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี ก้านใบ ยอดและกิ่ง มีขนทั่วไป ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ ไม่แตกแขนง ออกตามง่ามใบ ตอนปลายกิ่ง ผลเป็นแบบผลแห้ง ตัวผลกลม มีครีบตามยาว ด้านบนมีปีกสองปีก ออกดอกเดือนมีนาคม -พฤกษภาคม ผลแก่เดือนเมษายน-มิถุนายน

างนาจัดว่า เป็นไม้สารพัดประโยชน์มีความผูกพันกับวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของคนไทยมาตั้งแต่โบราณกาล ตามประวัติศาสตร์ไทย สมัยกรุงสุโขทัย พ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ได้ให้สานกระออมไม้ไผ่ยาชันน้ำมันยาง (ยางนา) มิให้รั่วเพื่อใช้แทนตุ่มใส่น้ำใสสะอาดส่งส่วยให้แก่ขอมเพื่อแสดงท่าทีประกาศอิสรภาพ

นทางกฎหมายป่าไม้ไม้สักและไม้ยางเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ซึ่งไม่ว่าจะขึ้นอยู่ ณ ที่ไดก็ตามหากมีการตัดฟันหรือทำไม้ออก จะต้องขออนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อน ทั้งนี้เพราะไม้ดังกล่าวมีการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง จึงต้องมีการออกกฎหมายมาควบคุม ประโยชน์ของไม้ยางนา มีหลากหลาย เนื้อไม้ ใช้ในการก่อสร้างทั่วไป ทำฝา พื้น เพดาน รอด ตง และเครื่องเรือนต่างๆ หากอาบหรืออัดน้ำยาจะมีความทนทานสูง เหมาะสำหรับใช้งานภายนอก เช่น เสา รั้ว ตัวถังเกีวยน และไม้หมอนรองรางรถไฟ

อกจากนี้น้ำมันยาง ใช้ทาไม้ ยาแนวเรือ ภาชนะต่างๆ กันน้ำรั่ว ใช้ทำใต้จุดไฟให้แสงสว่าง ใช้เติมเครื่องยนต์แทนน้ำมันขี้โล้ ใช้ผสมกับยางไม้ชนิดอื่นๆแทนกาวจับสัตว์ ใช้ทาสีบ้านชักเงา ทำชันยาง หมึกพิมพ์ รวมทั้งใช้ทำน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนในแง่สมุนไพร น้ำมันและใบไม้ยางนา สามารถนำมาใช้ใส่แผลห้ามหนอง แก้โรคเรื้อน ใบใช้ต้นน้ำดื่มขับเสมหะในลำคอ แก้ปวดฟัน ขับปัสสาวะ และแก้ไรคหนองใน เปลือกต้มน้ำกินแก้ตับอักเสบ บำรุงร่างกาย ฟอกเลือด หรือถูนวดขณะร้อนแก้ปวดตามข้อ ด้านคุณค่าทางอาหาร แม้ยางนาโดยตัวมันเองจะใช้เป็นอาหารไม่ได้ แต่ป่ายางนามักจะเป็นแหล่งอาหารอันโอชะ  

ดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเห็ดยาง เห็ดเผาะ เห็ดไข่เหลือง และรังผึ้ง และประโยชน์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของไม้ยางนาก็คือคุณค่าทางนันทนาการ เพราะยางนาเป็นไม้ที่มีลำต้นสูงใหญ่โดดเด่นเป็นสง่า มีอายุยืนยาว จึงมีการปลูกไม้ยางนา เพื่อให้ร่มเงาตามสถาบันการศึกษา ศาสนสถาน และริมถนนหนทางสายต่างๆ ด้วยคุณค่านานาประการของไม้ยางนา แต่การปลูกและการศึกษาวิจัยด้านการปลูกสร้าสวนป่ายางนาในประเทศไทยยังมีอยู่น้อยมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่จึงมีพระราชปรารถ ดังกล่าวข้างต้น


Last updated: 2012-08-22 06:55:23
 
     
     
   
     
Untitled Document