พะยอม_2017-03-19 14:22:44
Untitled Document
พะยอม (Shorea roxburghii) DIPTEROCARPACEAE พะยอม(ภาคกลาง),พะยอมทอง(สุราษฎร์ธานี,ปราจีนบุรี),ยางหยวก(น่าน),กะยอม(เชียงใหม่), ขะยอม(ลาว),พะยอมดง(ภาคเหนือ),แคน(เลย),เชียง,เซี่ยว(กระเหรี่ยง เชียงใหม่)
พะยอม เป็นไม้ยืนต้นประเภทพืชใบเลี้ยงคู่ชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ Dipterocarpaceae พบได้ในกัมพูชา, อินเดีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, ไทย และเวียดนาม มีลักษณะใบที่เรียงสลับกัน ดอกมีสีขาว กลิ่นหอม นิยมนำเนื้อไม้ไปใช้ในการก่อสร้าง ลักษณะคล้ายกับต้นตะเคียน พะยอมมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีก คือ กะยอม (เชียงใหม่) ชะยอม (ลาว) กะยอม (อีสาน) ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ) แคน (ร้อยเอ็ด) เชียง เชี่ยว (กะเหรี่ยง - เชียงใหม่) พะยอม (ภาคกลาง) พะยอมทอง (สุราษฎร์ธานี ปราจีนบุรี) ยางหยวก (น่าน) พะยอมเป็นไม้ต้นสูง 15 - 30 เมตร เปลือกสีเทาเข้มแตกเป็นร่อง ใบเดี่ยวออกสลับ รูปขอบขนานกว้าง 3.5 - 6.5 เซนติเมตร ยาว 8 - 15เซนติเมตร ปลายมนหรือเป็นติ่งสั้นๆ โคนมน ขอบเป็นคลื่นผิวเกลี้ยงเป็นมัน ดอกสีขาว กลิ่นหอมจัดออกเป็นช่อใหญ่ตามกิ่งและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน กลีบดอก 5 กลีบ เรียงเวียนกันแบบกังหันเมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 - 2 เซนติเมตร เกสร ตัวผู้ 15 อัน ผลรูปรีกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงเจริญไปเป็นปลีกยาว 3 ปลีกสั้น 2 ปลีกคล้ายผลยาง พะยอมมีการกระจายพันธุ์ในอินเดียตะวันออก พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย พบขึ้นทั่วไป แต่มักพบในป่าเบญจพรรณ และป่าดงดิบที่มีดินเป็นดินทราย เนื้อไม้ไปใช้ในการก่อสร้าง เช่น ใช้ทำหมอนรองรางรถไฟ พื้น เป็นต้น เปลือกต้น รสฝาด ต้มดื่มแก้ท้องร่วง แก้ลำไส้อักเสบ ฝนทาสมานบาดแผล ชำระแผลทุบใส่น้ำตาลสดกันบูด ดอก รสหอมสุขุม ปรุงเป็นยาแก้ลม บำรุงหัวใจ ลดไข้ ดอกสามารถนำมาประกอบอาหารได้
เครดิต วิกิพีเดีย
Last updated: 2017-03-19 14:22:44
|