ไทรย้อย_2017-03-19 15:01:24
Untitled Document
ไทรย้อย (Ficus benjamina) MORACEAE ไทรย้อย,ไทรย้อยใบแหลม(ตราด,กรุงเทพ),จาเรย(เขมร),ไทร(นครศรีธรรมราช)
ไทรย้อย (อังกฤษ: Chinese banyan, Malayan banyan; จีน: 細葉榕; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus microcarpa) เป็นไม้ประเภทบันยัน ในสกุล Ficus ในวงศ์ Moraceae เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงได้ประมาณ 12-25 เมตร และสูงได้ถึง 30 เมตร บางครั้งอาจรอเลื้อยกับพื้นดินหรือกึ่งอาศัยกับไม้อื่น ๆ มีรากอากาศอยู่ตามกิ่งไม้เป็นเส้นเรียงยาวจำนวนมาก เปลือกมีสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตัวแบบเวียน มีลักษณะรูปไข่หรือรูปวงรี ขนาดกว้าง 2.5 เซนติเมตร ยาว 4-10 เซนติเมตร ปลายใบแหลมถึงเป็นติ่งทู่เกือบแหลม หรือเป็นติ่งสั้น และเรียวแหลม ไม่ค่อยพบแบบเว้า ฐานใบสอบรูปลิ่ม ขอบใบเรียว ผิวใบมัน เนื้อใบบางเหนียวคล้ายผิวหนัง ออกดอกตามง่ามใบ เป็นดอกเดี่ยวหรือน้อยมากที่จะเป็นดอกคู่ ตาดอกสีแดงแกมชมพู ก้านดอกยาว 0.5-1.5 เซนติเมตร วงกลีบเลี้ยงรูประฆัง จำนวน 6 กลีบ ยาว 3-7 กลีบ กลีบดอกแบบอิสระ 6 กลีบ รูปไข่มน ยาว 3-8 มิลลิเมตร มีลักษณะย่น เกสรตัวผู้ 12 อัน ขดเป็นวง ผลเป็นรูปไข่กลับหรือกระสวยรี มีกลีบเลี้ยงเป็นท่อหุ้ม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-10 มิลลิเมตร ผลเกลี้ยง ผลแก่แตกออก มีเมล็ดจำนวนมาก มีปีกยาว รูปลิ่มแกมไข่กลับ มีการกระจายพันธุ์ที่กว้าง โดยพบได้ที่ปากีสถาน, อินเดีย, เนปาล, ศรีลังกา, จีนตอนใต้, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, พม่า, ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย จนถึงฟิลิปปินส์และออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ขึ้นกระจายในป่าดิบแล้ง, ป่าดิบชื้น และป่าเบญจพรรณ บางครั้งพบตามป่าเสื่อมโทรม, ชายทะเล, ป่าชายเลน หรือเขาหินปูน จนถึงระดับความสูงประมาณ 1,100 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นไม้ที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา ออกดอกและออกผลตลอดทั้งปี รากอากาศใช้ต้มดื่มขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา แก้นิ่ว บำรุงน้ำนม รากสมานลำไส้ แก้ท้องเสียได้[
เครดิต วิกิพีเดีย
Last updated: 2017-09-10 15:32:35
|