Untitled Document
     
 
น้อยหน่า_2016-06-26 15:18:00
Untitled Document น้อยหน่า
(Annona squamosa)
ANNONACEAE
น้อยหน่า(กลาง); เตียบ(เขมร); น้อยแน่(ใต้); มะนอแน่, มะแน่(เหนือ); มะออจ้า, มะออจ่า(เงี้ยว-เหนือ); ลาหนัง(ปัตตานี); หน่อเกล๊าะแซ(เงี้ยว-แม่ฮองสอน); หมักเขียบ(ตะวันออกเฉียงเหนือ)
 

น้อยหน่า (อังกฤษ: Sugar apple; ชื่อวิทยาศาสตร์: Annona squamosa Linn.) ชื่ออื่น ๆ หมักเขียบ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) , ลาหนัง (ปัตตานี) , มะนอแน่, มะแน่ (เหนือ) , หน่อเกล๊ะแซ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) , มะออจ้า, มะโอจ่า (เงี้ยว-เหนือ) , เตียบ (เขมร)[1] เป็นพืชยืนต้น ผลมีเนื้อสีขาว เมล็ดดำ รสหวาน ถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกากลาง และใต้ แต่จะพบอยู่ทั่วไปในเขตร้อน ในประเทศไทยปลูกมากทางภาคกลางและตะวันออกเฉียงเหนือ
น้อยหน่าเป็นไม้ยืนต้น สูง 3-5 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกแกมขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 7-13 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ ห้อยลง กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว 6 กลีบ เรียง 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ หนาอวบน้ำ มีเกสรตัวผู้และรังไข่จำนวนมาก ผลเป็นผลกลุ่ม ค่อนข้างกลม เมล็ดสีดำ มีจำนวนมาก   ใบสดและเมล็ดน้อยหน่าสามารถใช้ฆ่าเหา และ โรคกลากเกลื้อน และแก้ฟกบวม     ราก เป็นยาระบาย ทำให้อาเจียน และแก้พิษงู ถอนพิษเบื่อเมา
เปลือกต้น เป็นยาสมานลำไส้ สมานแผล แก้ท้องร่วง แก้พิษงู แก้รำมะนาด ยาฝาดสมาน    ผลดิบ จะเป็นยาแก้พิษงู แก้ฝีในคอ กลาก เกลื้อน ฆ่าพยาธิ ผิวหนัง และผลแห้ง แก้งูสวัด เริม แก้ฝีในหู
ใบน้อยหน่ามีสารแอลคาลอยด์ แอนโนเนอีน (anonaine) และเรซิน (resin) ในเมล็ดมีน้ำมันอยู 45% ซึ่งเป็นพิษกับด้วงปีกแข็ง เพลี้ยอ่อนแมลงวัน และมวนปีกแข็ง


เครดิต  วิกิพีเดีย


Last updated: 2016-06-26 15:18:00
 
     
     
   
     
Untitled Document