Untitled Document
     
 
อิทธิพลของกระถินยักษ์
Untitled Document กระถินยักษ์
(Leucaena leucocephala)
LEGUMINOSAE
 

อิทธิพลของกระถินยักษ์ (Leucaena leucocephala) ที่ปลูกเป็นอาหารสัตว์ต่อคุณสมบัติบางประการของดิน
ประสาท เกศวพิทักษ์, พนัส ส่งเสริม และ อภิสิทธิ์ เอี่ยมหน่อ
บทคัดย่อ

ในปัจจุบันความต้องการอาหารสัตว์จำพวกโปรตีนเพิ่มขึ้น ประกอบกับได้มีการใช้ที่ดินติดต่อกันมานานโดยขาดการบำรุงรักษา ทำให้ดินอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม ในบางท้องที่กสิกรได้ผลผลิตไม่ค้มกับการลงทุน การทำลายป่าเพื่อหาที่ดินที่อุดมสมบูรณ์กว่าจึงเพิ่มขึ้น การทดลองนี้มีจุดประสงค์ที่จะหาพืชที่ปลูกบำรุงดิน และควรมีรายได้จากการปลูกพืชด้วย โดยใช้กระถินยักษ์พันธุ์เคท่าพระเป็นพืชทดลอง เนื่องจากกระถินยักษ์สามารถตรึงไนโตรเจน จากอากาศได้ จึงเหมาะสำหรับเป็นพืชปลูกเพื่อปรับปรุงคณุสมบัติของดิน อีกทั้งใบอ่อนก็มีโปรตีนสูงจึงสามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ด้วย การปลูกกระถินยักษ์ในระยะปลูก 1 x 1 ม., 1 x 2 ม. เปรียบเทียบกับแปลงที่ปล่อยให้หญ้าขึ้นตามธรรมชาติ (check) ผลการทดลองเมื่อมองในแง่การคัดเลือกเพื่อเป็นอาหารสัตว์ การใช้ระยะปลูก 1 x 1 ม. จะได้น้ำหนักแห้งของใบยอดอ่อนสูงสุดทั้งที่ จ. มหาสารคาม และ จ. ชลบุรี คือ 243 และ 325 กก./ไร่ ตามลำดับ ในด้านปรับปรุงดินพบว่าการปลูกกระถินยักษ์ โดยใช้ระยะปลูกเท่าใดก็ตาม ปริมาณอินทรีย์วัตถุ เปอร์เซ็นต์ความชื้น ปฏิกริยาของดินและธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชในดิน ไม่แตกต่างจากแปลงที่ปล่อยให้หญ้าขึ้นตามธรรมชาติ แต่เมื่อเทียบกับคุณสมบัติของดินก่อนปลูก ปรากฎว่า การปลูกกระถินยักษ์ยิ่งนานเท่าใดก็ตามก็จะมีผลต่อคุณสมบัติของดินมากขึ้นเท่านั้น

http://it.doa.go.th/journal/php/detail.php?id=9


Last updated: 2012-08-12 10:28:57
 
     
     
   
     
Untitled Document