ขนุนปาน_ผักพื้นบ้านไม้ผลพื้นเมือง
Untitled Document
ขนุนปาน (Artocarpus rigidus) MORACEAE subsp. asperulus Jarrett ขนุนปาน(สุราษฎร์ธานี)
ชื่อสามัญ: ขนุนปาน
ชื่ออื่น : -
ชื่อวิทยาศาสตร์: Artocarpus rigidus
Blume subsp. Asperulus Jarrett
วงศ์ : MORACEAE
นิเวศวิทยา : กระจายพันธุ์ในไทยทางภาคตะวันออกเฉียงใต้
และภาคใต้ในป่าดิบ ต่างประเทศพบที่พม่า อินโดนีเซีย มาเลเซีย
ภูมิภาคอินโดจีน
ถึงบอร์เนียว
ฤดูกาลออกดอก : -
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
ลำต้น ไม้ต้น
สูงได้ถึง 30 เมตร
เรือนยอดเป็นพุ่ม ทรงสูงถึงค่อนข้างกลม เปลือกสีน้ำตาลแดงถึงเทาคล้ำ
ใบเรียงเวียนสลับ
ใบเดี่ยว รูปรี หรือรูปรีแกมรูปไข่กลับ
ผิวใบมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน
ดอก ออกเป็นช่อ แยกเพศ
ออกอัดรวมกันแน่นบนช่อดอก
ช่อดอกเพศผู้รูปทรงกระบอกแกมรูปไข่กลับ ช่อดอกเพศเมียรูปทรงกลม
ผล รวมค่อนข้างกลมมีหนามยาวแหลมโดยรอบ เมล็ด มีเยื่อสีเหลืองถึงเหลืองส้มหุ้ม
ประโยชน์: เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างภายใน
เยื่อหุ้มเมล็ดรสเปรี้ยวอมหวาน กินได้
ที่มา: ประวิตร โสภโณดร. 2553. โครงการการจัดทำฐานข้อมูลพันธุกรรม เขตกรรม
การวิจัยพัฒนาและการใช้ประโยชน์พืชผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมืองภาคใต้.
คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Last updated: 2013-10-22 15:23:07
|